Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67388
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กมลชนก เลิศไพรวัน | en_US |
dc.contributor.author | กนกวรรณ ปัญจะมา | en_US |
dc.contributor.author | ชัยอาทิตย์ อินคำ | en_US |
dc.contributor.author | โสระยา ร่วมรังษี | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:45:05Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:45:05Z | - |
dc.date.issued | 2563 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารเกษตร 36, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2563), 103-112 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0841 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/234791/161477 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67388 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 | en_US |
dc.description.abstract | แวนดาเป็นกล้วยไม้ที่มีศักยภาพในการส่งออก เนื่องจากมีอายุการปักแจกันนานและมีราคาสูงมีสีสวยเป็นที่ดึงดูดสายตาผู้บริโภค ในการผลิตแวนดาให้มีคุณภาพสูงนั้น ปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการเติบโต การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการให้ปุ๋ยที่มีความเหมาะสมต่อการเติบโตของกล้วยไม้แวนดา Pat Delight โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 5กรรมวิธี กรรมวิธีละ 20 ต้น โดยให้พืชได้รับปุ๋ยที่ต่างกัน ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ให้ปุ๋ยเกรด 21-21-21 ตลอดปี,กรรมวิธีที่ 2 ให้ปุ๋ยเกรด 13-27-27 ตลอดปี, กรรมวิธีที่ 3 ให้ปุ๋ยเกรด 21-21-21 จำนวน 2ครั้ง สลับกับให้ ปุ๋ยเกรด 13-27-27 จำนวน 3 ครั้ง ตลอดปี, กรรมวิธีที่ 4 ให้ปุ๋ยเกรด 21-21-21 จำนวน 4 ครั้ง สลับกับให้ปุ๋ยเกรด 13-27-27 จำนวน 1 ครั้ง ตลอดปี กรรมวิธีที่ 5ไมได้รับปุ๋ย (ให้น้ำอย่างเดียว) พ่นปุ๋ยตามกรรมวิธีที่กำหนด ในอัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 100 มิลลิลิตรต่อต้น ผลการทดลองพบว่าการให้ปุ๋ยเกรด 21-21-21 จำนวน 4 ครั้ง สลับกับให้ปุ๋ยเกรด 13-27-27 จำนวน 1 ครั้ง (กรรมวิธีที่ 4) มีจำนวนคู่ใบและค่าความเขียวของใบไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเทียบกับการให้ปุ๋ยเกรด 21-21-21 ตลอดปี (กรรมวิธีที่ 1) ซึ่งความสูงต้นมากที่สุดเฉลี่ย 37.6 เซนติเมตร และมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกน้อยที่สุดที่ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่กรรมวิธีที่ 4 มีเปอร์เซ็นต์การออกดอก 100 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนดอกต่อช่อ,ความยาวก้านช่อดอก และเส้นผ่านศูนย์กลางดอกมากที่สุด ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีที่ 1 แต่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม ดังนั้นการให้ปุ๋ยเกรด 21-21-21 จำนวน 4 ครั้ง สลับกับ ปุ๋ยเกรด 13-27-27 จำนวน 1 ครั้งจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมทำให้พืชมีการเจริญเติบโต และมีคุณภาพดอกดี | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | กล้วยไม้แวนดา | en_US |
dc.subject | แวนดา | en_US |
dc.subject | การออกดอก | en_US |
dc.subject | การเติบโต | en_US |
dc.subject | วิธีการให้ปุ๋ย | en_US |
dc.title | ผลของวิธีการให้ปุ๋ยทางใบต่อการเติบโตของกล้วยไม้แวนดา | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Foliar Fertilizer Application on Growth of Vanda Orchid | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.