Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67317
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุธีรา มงคลตรีรัตน์en_US
dc.contributor.authorพิริยะ ยาวิราชen_US
dc.contributor.authorมาริสา สุขพัทธีen_US
dc.contributor.authorณัฐวรรธน์ ปลื้มสำราญen_US
dc.contributor.authorภัทรณัฏฐ์ บัณฑิตคุณานนต์en_US
dc.contributor.authorภัทริกา อังกสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorอภิชัย ยาวิราชen_US
dc.contributor.authorพิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:17Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:17Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,1 (ม.ค.-เม.ย. 2560) 71-81en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_1_430.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67317-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของนาโน-ซิลิกา (Nano-silica) ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบ ไซเลนต่อคุณสมบัติดัดขวางและเสถียรภาพของสีของพอลิเมทิล เมทาคริเลต วัสดุและวิธีการ: ทดสอบคุณสมบัติดัดขวางแบบ 3 จุดบนชิ้นงานพอลิเมทิล เมทาคริเลตเสริมนาโน-ซิลิกาที่ปรับ สภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลน (10±0.2X 64±0.01X3.3±0.2 มิลลิเมตร) แบ่งเป็น 4กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น ใช้นาโน-ซิลิการ้อยละ 0 1 3 และ 5 โดยน้ำหนักของพอลิเมทิลเมทาคริเลตหาค่าความต่างสีของชิ้นงานพอลิเมทิล เมทาคริเลตชนิดใสและสีเหมือนฟันเสริมนาโนซิลิกาที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลน (11±0.2 X11 ±0.2X2 ±0.2 มิลลิเมตร) ใช้นาโน-ซิลิการ้อยละ 0 1 3 และ 5 โดยน้ำหนัก ทั้งหมด 8 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น ด้วยเครื่องวัดค่าการดูดกลืนแสง (Spectrophotometer) คำนวณเป็นหน่วยเอนบีเอส (National Bureau of Standard: NBS units) เพื่อบอกเสถียรภาพสี ผลการศึกษา: คุณสมบัติดัดขวางของกลุ่มนาโน-ซิลิกาที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนปริมาณร้อยละ 1โดยน้ำหนักให้ค่าความแข็งแรงดัดขวางสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มนาโน-ซิลิกาที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนปริมาณร้อยละ 5 โดยน้ำหนักให้ค่าโมดูลัสดัดขวางสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มที่มีเสถียรภาพสี ได้แก่ กลุ่มที่ใช้พอลิเมทิล เมทาคริเลตชนิดสีเหมือนฟันที่เสริมนาโน-ซิลิกาที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนปริมาณร้อยละ 1 และ 3 โดยน้ำหนัก สรุปผลการทดลอง: นาโนซิลิกาที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนักสามารถปรับปรุงคุณสมบัติดัดขวางได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและนาโน-ซิลิกาซึ่งปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารไซเลนปริมาณร้อยละ 1 และ 3 โดยน้ำหนัก สามารถใช้เสริมความแข็งแรงให้แก่พอลิเมทิล เมทาคริเลตชนิดสีเหมือนฟันโดยยังคงเสถียรภาพสีไว้ได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเสถียรภาพสีคุณสมบัติดัดขวางนาโน-ซิลิกาen_US
dc.subjectพอลิเมทิลen_US
dc.subjectเมทาคริเลตen_US
dc.subjectสารคู่ควบไซเลนen_US
dc.titleผลของนาโน-ซิลิกาที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนต่อคุณสมบัติดัดขวาง และเสถียรภาพสีของพอลิเมทิลเมทาคริเลตen_US
dc.title.alternativeEffect of Silanized Nano-Silica on Flexural Properties and Color Stability of Polymethyl Methacrylateen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.