Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67312
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยกุล จรรยาวัฒน์en_US
dc.contributor.authorอาทิตยา ญาณไพศาลen_US
dc.contributor.authorกุลภพ สุทธิอาจen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:14Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) 127-138en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext____453.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67312-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของสิ่งบูรณะในคลองรากฟันต่อความต้านทานการแตกหักและรูปแบบการแตกหักของฟันหลักของฟันเทียมบางส่วนชนิดติดแน่น วัสดุและวิธีการ: สร้างแบบจำลองสำหรับฟันเทียมบางส่วนชนิดติดแน่น 3 หน่วย ที่มีสันเหงือกไร้ฟันยาว 10 มิลลิเมตร จำนวน 30 ชิ้น สุ่มแบ่งตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น ตามรูปแบบของสิ่งบูรณะในคลองรากฟันประกอบด้วย เดือยฟันโลหะหล่อ (CP) เดือยฟันสำเร็จรูปเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้ว (FP) และกลุ่มควบคุมซึ่งไม่มีสิ่งบูรณะในคลองรากฟัน สร้างและยึดชิ้นฟันเทียม บางส่วนชนิดติดแน่น 3 หน่วย ที่มีด้านบดเคี้ยวแบนราบเข้ากับแบบจำลองแต่ละชิ้นด้วยเรซินซีเมนต์ ให้แรงกดขนาด 10,000 นิวตัน กระทำต่อชิ้นฟันเทียมตามแนวแกนของซี่ฟันแขวน โดยเคลื่อนหัวกดด้วยความเร็ว 0.5 มิลลิเมตร/นาที จนชิ้นตัวอย่างแตกหัก บันทึกค่าแรงที่ทำให้ชิ้นตัวอย่างแตกหัก (นิวตัน) วิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (α=0.05) จำแนกลักษณะการแตกหักเป็นแบบที่สามารถบูรณะได้และแบบที่ไม่สามารถบูรณะได้ ผลการทดลอง: ค่าเฉลี่ยแรงที่ทำให้ตัวอย่างแตกหักของกลุ่ม CP (6250.079±688.337 นิวตัน) กลุ่ม FP (6454.780±556.534 นิวตัน) และกลุ่มควบคุม (6849.830±673.003 นิวตัน) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.124) ในกลุ่ม CP พบรากฟันแตกในแนวดิ่ง 5 จาก 10 ตัวอย่าง การแตกหักในกลุ่มควบคุมและกลุ่ม FP จัดอยู่ในลักษณะที่สามารถบูรณะได้ สรุป: ความแตกต่างของสิ่งบูรณะในคลองรากฟันไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความต้านทานการแตกหักของฟันหลักของฟันเทียมบางส่วนชนิดติดแน่น แต่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการแตกหักของฟันหลักen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectฟันหลักของฟันเทียมบางส่วนชนิดติดแน่นen_US
dc.subjectเดือย และแกนฟันen_US
dc.subjectความต้านทานการแตกหักen_US
dc.subjectรูปแบบการแตกหักen_US
dc.titleผลของสิ่งบูรณะในคลองรากฟันต่อความต้านทานการแตกหักของฟันหลักของฟันเทียมบางส่วนชนิดติดแน่นen_US
dc.title.alternativeEffect of Intra-Canal Restorations on Fracture Resistance of Fixed Partial Denture Abutmenten_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.