Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67309
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชุติมา สุขประภาภรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | ภาวิศุทธิ แก่นจันทร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:14Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:14Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.citation | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) 111-126 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-6920 | en_US |
dc.identifier.uri | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext____452.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67309 | - |
dc.description | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินคอมโพสิตกับเซรามิกส์ชนิดลิเทียมไดซิลิเกต เมื่อใช้สารยึดติดซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลทั้งที่ใช้และไม่ใช้ร่วมกับสารคู่ควบไซเลนร่วมกับการทำเทอร์โมไซคลิง วิธีการวิจัย: สร้างชิ้นงานเซรามิกส์ชนิดลิเทียมไดซิลิเกตรูปร่างทรงกระบอกจำนวน 150 ชิ้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร ทำการปรับสภาพพื้นผิวเซรามิกส์ด้วยกรดไฮโดรฟลูออริก ความเข้มข้นร้อยละ 4.9 นาน 20 วินาที ล้างน้ำ 20 วินาที เป่าแห้ง แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 5 กลุ่ม (n=30) กลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) ทาสารคู่ควบไซเลนรีไลย์เอ็กซ์เซรามิกส์ไพรเมอร์และสารยึดติดสก็อตช์บอนด์มัลติเพอร์โพส (HF+S+SBMP) กลุ่มที่ 2 ทาสารยึดติดสก็อตช์บอนด์มัลติเพอร์โพส (HF+SBMP) กลุ่มที่ 3 ทาสารคู่ควบไซเลนรีไลย์เอ็กซ์-เซรามิกส์ไพรเมอร์และสารยึดติดซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซล (HF+S+SBU) กลุ่มที่ 4 ทาสารยึดติดซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลเป็นเวลา 20 วินาที (HF+SBU20) และกลุ่มที่ 5 ทาสารยึดติดซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลเป็นเวลา 60 วินาที (HF+SBU60) อุดเรซินคอมโพสิตลงบนชิ้นทดสอบแต่ละชิ้น 1 ตำแหน่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตรสูง 2 มิลลิเมตร นำตัวอย่างทั้ง 5 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่ม (n=15) กลุ่มที่ 1 นำไปแช่น้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มที่ 2 นำไปผ่านเทอร์โมไซคลิงจำนวน 5,000 รอบ จากนั้นนำไปทดสอบค่าความแข็งแรงยึดเฉือนโดยใช้เครื่องทดสอบสากลอินสตรอนด้วยความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที จนแท่งเรซินคอมโพสิตหลุด นำค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนที่ได้ไปวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) โดยใช้สถิติเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์และจำแนกพื้นผิวการแตกหักของแต่ละตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดหัวกลับ ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการเตรียมผิวเซรามิกส์ชนิดลิเทียมไดซิลิเกตที่แตกต่างกันพบว่ากลุ่ม HF+S+SBU มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนสูงที่สุด แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่ม HF+S+SBMP ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนสูงกว่ากลุ่ม HF+SBU20, HF+SBU60 และกลุ่ม HF+SBMP อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่ม HF+SBU20 และกลุ่ม HF+SBU60 มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่ากลุ่มการทดลองที่ผ่านการทำเทอร์โมไซคลิงจำนวน 5,000 รอบ มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่แช่น้ำเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช้ร่วมกับสารคู่ควบไซเลนแบบแยกขวดลักษณะพื้นผิวการแตกหักส่วนใหญ่ที่พบเป็นความล้มเหลวของการยึดติด สรุปผลการศึกษา: การใช้สารยึดติดซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลที่มีส่วนประกอบของสารคู่ควบไซเลน สามารถเพิ่มค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินคอมโพสิตกับเซรามิกส์ชนิดลิเทียมไดซิลิเกตได้ แต่ค่าความแข็งแรงยึดเฉือนที่ได้มีค่าน้อยกว่าการใช้สารยึดติดซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลร่วมกับสารคู่ควบไซเลน และค่าความแข็งแรงยึดเฉือนมีค่าลดลงในทุกกลุ่มการทดลองเมื่อผ่านเทอร์โมไซคลิง 5,000 รอบ | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | สารคู่ควบไซเลน | en_US |
dc.subject | สารยึดติดยูนิเวอร์แซล | en_US |
dc.subject | ความ แข็งแรงยึดเฉือน | en_US |
dc.subject | ลิเทียมไดซิลิเกต | en_US |
dc.title | ผลของสารคู่ควบไซเลนในสารยึดติดยูนิเวอร์แซลต่อความแข็งแรงยึดเฉือน ระหว่างเรซินคอมโพสิตกับลิเทียมไดซิลิเกต | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Silane Coupling Agent in Universal Adhesive Agent on Shear Bond Strength between Resin Composite and Lithium Disilicate | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.