Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67278
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแสงอรุณ ใจวงศ์ผาบen_US
dc.contributor.authorประทุม สร้อยวงค์en_US
dc.contributor.authorสุดารัตน์ สิทธิสมบัติen_US
dc.contributor.authorมยุลี สำราญญาติen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560), 36-48en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/135598/101312en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67278-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการเจ็บป่วยวิกฤตเป็นภาวะที่คุกคามต่อชีวิต ส่งผลต่อผู้ป่วยวิกฤตและญาติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ หากญาติมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณที่ดีจะช่วยให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยช่วยให้ผู้ป่วยมีการฟื้นหายจากการเจ็บป่วยหรือจากไปอย่างสงบและสมศักดิ์ศรี การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะทางจิตวิญญาณของญาติผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 จำนวน 283 รายเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจากเครื่องมือประเมินสุขภาวะทางจิตวิญญาณและประสบการณ์ในชีวิต (Spiritual Health And Life-Orientation Measure [SHALOM]) ของฟิชเชอร์ (Fisher, 2010) เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือก่อนนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้หรือการให้ความสำคัญในสิ่งที่มีความหมายและเป้าหมายในชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = .47) มีประสบการณ์การปฏิบัติในสิ่งที่มีความหมายและเป้าหมาย ในชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.62, S.D. = .62) มีสุขภาวะทางจิตวิญญาณในระดับที่เป็นทุกข์ (mean scores = 2.01) และมีความต้องการความช่วยเหลือจากทีมสุขภาพในการคงไว้ซึ่งสุขภาวะทาง จิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก ( = 3.83, S.D. = .73) ผลการวิจัยแสดงว่าสุขภาวะทางจิตวิญญาณคือความสอดคล้องกันระหว่างการรับรู้หรือการให้ความสำคัญในสิ่งที่มีความหมายและเป้าหมายในชีวิต กับการปฏิบัติในสิ่งที่มีความหมายและเป้าหมายในชีวิต โดยมีการเชื่อมโยงองค์ประกอบภายใน 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านตนเอง มิติด้านบุคคลอื่น มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านสิ่งศรัทธาเบื้องบน การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณ และวิธีการปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับส่งเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณของญาติผู้ป่วยวิกฤตen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสุขภาวะทางจิตวิญญาณen_US
dc.subjectญาติผู้ป่วยวิกฤตen_US
dc.titleสุขภาวะทางจิตวิญญาณของญาติผู้ป่วยวิกฤตen_US
dc.title.alternativeSpiritual Health among Relatives of Critically Ill Patientsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.