Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67268
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรรณิตา สอนกองแดงen_US
dc.contributor.authorอนงค์ สุนทรานนท์en_US
dc.contributor.authorกาญจนา พรหมเรืองฤทธิ์en_US
dc.contributor.authorศรันย์ ปองนิมิตพรen_US
dc.contributor.authorลาวัลย์ สมบูรณ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (2) (ธ.ค. 2560), 81-93en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/169047/121630en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67268-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractศูนย์เด็กเล็กเป็นหน่วยบริการในชุมชนที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการช่วยดูแลเด็กปฐมวัยของทุกครอบครัวในยุคปัจจุบัน การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพจึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากกลุ่มบุคคลในชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 41 ราย ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม 2558 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวทางการดำเนินงานเพื่อเป็นศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และแบบสอบถามการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานโดยการทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1.บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา และกำหนดความต้องการในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งปัญญามี 6 ด้าน สำหรับขั้นวางแผนได้กำหนดรูปแบบการพัฒนาและแบ่งความรับผิดชอบตามหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และขั้นประเมินผลได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ให้กำลังใจซึ่งกันและขยายระยะเวลาตามบริบทของชุมชน คะแนนเฉลี่ยการสังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในขั้นวิเคราะห์ปัญหา ขั้นวางแผนและขั้นประเมินผลอยู่ในระดับดีมาก แต่ขั้นประเมินผล คะแนนการสังเกตพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองอยู่ในระดับน้อย 2.ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 70.39 เป็น 85.03 และคะแนนเพิ่มขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องของชุมชนในการพัฒนามาตรฐานศูนย์เด็กเล็กทั้ง 6 ด้าน ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพโดยรวม การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพให้เกิดความยั่งยืนจึงควรส่งเสริมการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ด้านen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectศูนย์เด็กเล็กคุณภาพen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectบุคลากรที่เกี่ยวข้องen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.titleการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeQuality Child Care Center Development by Participation of Related Personnel in Pa-aoedonchai Subdistrict, Meung District, Chiang Rai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.