Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67263
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิราภรณ์ นันท์ชัยen_US
dc.contributor.authorนริศรา ใคร้ศรีen_US
dc.contributor.authorลาวัลย์ สมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorเทียมศร ทองสวัสดิ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (2) (ธ.ค. 2560), 49-59en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/169035/121607en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67263-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลเป็นตัวบ่งชี้ภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีผลต่อคุณภาพการเรียนรู้และความสำเร็จด้านการศึกษา การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ อายุ ชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสม สุขนิสัยการนอนหลับ และความเครียด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 จำนวน 217 ราย ของคณะพยาบาลศาสตร์แห่งหนึ่ง รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2560 สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและคำนวณตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามสุขนิสัยการนอนหลับ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ1, 2)แบบวัดความเครียดสวนปรุง (สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และ พิมพ์มาศ ตาปัญญา, 2540) และ 3)แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของพิทส์เบิร์ก (ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ และวรัญ ตันชัยสวัสดิ์, 2540) ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .70, .96 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบนำตัวแปรเข้าพร้อมกัน ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี ร้อยละ 66.36 2.อายุ ชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสม สุขนิสัยการนอนหลับ และความเครียด สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพการนอนหลับได้ร้อยละ 27.5 (Nagelkerke R2 = .275) โดยสุขนิสัยการนอนหลับ และความเครียดสามารถทำนายคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = .23; 95% Cl = .09-.57, p<.01 และ OR = 2.91; 95% Cl = 1.81-4.67, p<.01 ตามลำดับ) ผลจากการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์พยาบาลในการส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณภาพการนอนหลับที่ดี โดยใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสร้างเสริมการมีสุขนิสัยการนอนหลับที่ดี และใช้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกเข้าศึกษา รวมทั้งติดตามให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสุขนิสัยการนอนหลับen_US
dc.subjectความเครียดen_US
dc.subjectคุณภาพการนอนหลับen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.titleปัจจัยทำนายคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Sleep Quality among Nursing Studentsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.