Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิชยา เห็นแก้วen_US
dc.contributor.authorเบญจมาศ ถาดแสงen_US
dc.contributor.authorมณี กิติศรีen_US
dc.contributor.authorฉัตรชัย ไวยะกาen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (2) (ธ.ค. 2560), 60-70en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/169042/121612en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67262-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยส้านพลับพลา จำนวน 52 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองครั้งละ 1.5 - 2 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือดำเนินการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และคู่มือการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง 2) แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง 3) สมุดบันทึกพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และ 4) เครื่องวัดความดันโลหิตและหูฟัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าที สถิติทดสอบแมนวิทนี-ยู และสถิติทดสอบวิลคอกซันแมชแพร์ ไซน์ แรงค์ ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลอง (x̄ = 95.03, S.D. = 4.93) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (x̄ = 76.80, S.D. = 5.67) และสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (x̄ = 76.26, S.D. = 8.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ค่ามัธยฐานของความดันโลหิตขณะหัวใจทั้งบีบตัวและคลายตัวในกลุ่มทดลอง (median = 110 และ median = 70 ตามลำดับ) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (median = 130 และ median = 80 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001, p < .05 ตามลำดับ) และต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (median = 130 และ median = 80 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001, p < .001 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองสามารถลดระดับความดันโลหิต ดังนั้นควรนำไปใช้เป็นแนวทางในการควบคุมความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการสนับสนุนการจัดการตนเองen_US
dc.subjectความดันโลหิตสูงen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.titleผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและ ค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.title.alternativeEffects of a Self-Management Supporting Program on Self-Management Behaviors and Blood Pressure among Older Adults with Hypertensionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.