Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67259
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยวรรณ นันทะพงษ์en_US
dc.contributor.authorนันทพร แสนศิริพันธ์en_US
dc.contributor.authorฉวี เบาทรวงen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 96-106en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148046/108990en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67259-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล สัมพันธภาพของคู่สมรส และการสนับสนุนทางสังคม กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้จะเป็นบิดาครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างเลือกจากเกณฑ์ที่กำหนด คือ ชายที่กำลังจะมีบุตรเป็นครั้งแรกที่พาภรรยามาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน 2558 จำนวน 115 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้จะเป็นบิดา แบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญ (STAI form Y-1) แบบสอบถามสัมพันธภาพของคู่สมรส (Dyadic Adjustment Scale, DAS) และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของผู้จะเป็นบิดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.2 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความวิตกกังวลเฉลี่ย 40.59 คะแนน (S.D. =7.97) 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสัมพันธภาพของคู่สมรสอยู่ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 63.55 มีคะแนนสัมพันธภาพของคู่สมรสโดยรวมเฉลี่ย 3.93 คะแนน (S.D. = .62) 3. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 66.1 มีคะแนนการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมเฉลี่ย 3.84 คะแนน (S.D. = .59) 4. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในระยะตั้งครรภ์อยู่ในระดับมาก ร้อยละ86.1 มีคะแนนการเข้ามามีส่วนร่วมเฉลี่ย 119.22 คะแนน (S.D. = 12.57) 5. ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบกับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้จะเป็นบิดาครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.306, p < .01) สัมพันธภาพของคู่สมรสมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้จะเป็นบิดาครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .678, p < .01) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้จะเป็นบิดาครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .489, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้จะเป็นบิดาในขณะภรรยาตั้งครรภ์ และเป็นข้อมูลสำหรับการวิจัยในลำดับต่อไป เพื่อได้แนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้จะเป็นบิดาen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectสัมพันธภาพของคู่สมรสen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาen_US
dc.subjectผู้จะเป็นบิดาครั้งแรกen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้จะเป็นบิดาครั้งแรกen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Father Involvement among First Time Expectant Fathersen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.