Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67258
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศศิธร กิ่งนาละen_US
dc.contributor.authorพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่นen_US
dc.contributor.authorมาลี อื้ออำนวยen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 128-137en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148056/108995en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67258-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractทารกเกิดก่อนกำหนดมักมีปัญหาด้านการดูดกลืน ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด การกระตุ้นการดูดกลืนอาจทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อในการดูดกลืนมีการพัฒนาดีขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดระหว่างทารกกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นการดูดกลืนและทารกกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดอายุหลังปฏิสนธิ 30-32 สัปดาห์ ที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดและหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 20 ราย โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ โดยการสุ่มแบบจับคู่ในด้านอายุหลังปฏิสนธิ น้ำหนัก ณ วันที่ทำการศึกษา และระยะเวลาในการใส่ท่อหลอดลมคอ เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ราย กลุ่มทดลองได้รับการกระตุ้นการดูดกลืนวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ แผนการกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของทารกเกิดก่อนกำหนดและมารดา และแบบประเมินพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด (The Preterm Infant Breastfeeding Behavior Scale: PIBBS) สร้างโดยนิควิสและอีวาลด์ (Nyqvist & Ewald, 1999) มีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติฟิชเชอร์ สถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มไม่อิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองคะแนนพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และหลังการทดลองคะแนนพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดในกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การกระตุ้นการดูดกลืนช่วยให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีพฤติกรรมการดูดนมมารดาดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลจึงควรทำการกระตุ้นการดูดกลืนให้แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการกระตุ้นการดูดกลืนen_US
dc.subjectพฤติกรรมการดูดนมมารดาen_US
dc.subjectทารกเกิดก่อนกำหนดen_US
dc.titleผลของการกระตุ้นการดูดกลืนต่อพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดen_US
dc.title.alternativeEffects of Oral Stimulation on Preterm Infants’ Breastfeeding Behaviorsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.