Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67254
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กัญยา ทูลธรรม | en_US |
dc.contributor.author | พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | จันทรรัตน์ เจริญสันติ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:13Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:13Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 11-21 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148023/108972 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67254 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่สำคัญและส่งผลกระทบทางลบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ การแสดงบทบาทของผู้เป็นบิดา ด้านครอบครัวและสังคม การวิจัย เชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการเป็นบิดา ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส และภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิด กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดาที่มีบุตรอายุระหว่าง 6 – 8 สัปดาห์ จำนวน 84 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ.2558 รวบรวมข้อมูลจาก แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบอีต้า สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิด คิดเป็นร้อยละ 21.40 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 5.92 (S.D. = 3.76) สถานภาพการเป็นบิดา มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Eta. = .22, p.= .05) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ ทางลบระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.47, p <.01) และสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสมีความสัมพันธ์ทางลบระดับสูงกับภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.50, p <.01) อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการเป็นบิดา ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิด ได้ร้อยละ 32.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลจากการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ในการทำนายภาวะซึมเศร้าของบิดาไทย และเป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิด | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ปัจจัยทำนาย | en_US |
dc.subject | ภาวะซึมเศร้าของบิดา | en_US |
dc.subject | บิดาในระยะหลังบุตรเกิด | en_US |
dc.title | ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของบิดาในระยะหลังบุตรเกิด | en_US |
dc.title.alternative | Factors Predicting Paternal Depression in Postnatal Period | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.