Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67253
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริวรรณ ตุรงค์เรืองen_US
dc.contributor.authorชดช้อย วัฒนะen_US
dc.contributor.authorธีรนุช ห้านิรัตศัยen_US
dc.contributor.authorสุนทรา เลี้ยงเชวงวงศ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 69-82en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148037/108983en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67253-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ มักเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการ การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนที่เหมาะสมจะช่วยส่งเสริมการควบคุมโรค การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรคต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและการควบคุมโรคในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 38 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรคที่พัฒนามาจากทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา (1997) ประกอบด้วยการให้ความรู้โดยการอภิปรายกลุ่มย่อย การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายโดยการเต้นรำเต้าเต๋อซิ่นซีและการใช้ยา ให้คู่มือและกระตุ้นติดตามทางโทรศัพท์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึงเดือนเมษายน 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรค คู่มือการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรค แบบวัดพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และเครื่องวัดความดันโลหิตที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทีคู่ สถิติทดสอบที แมกนีมาร์ ไคสแควร์ และฟิชเชอร์เอ็กแซกท์ ผลการวิจัยพบว่าภายหลังเข้าร่วมโครงการ 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) มีการควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์มากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซีสโตลิคและไดแอสโตลิคต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรคมีประสิทธิผลในการส่งเสริมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง สามารถลดค่าเฉลี่ยความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการควบคุมโรคในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้ การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมโดยติดตามผลการควบคุมโรคและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงในระยะยาวen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนen_US
dc.subjectการควบคุมโรคen_US
dc.subjectพฤติกรรมen_US
dc.subjectผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรคต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคและการควบคุมโรคในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคไม่ได้en_US
dc.title.alternativeEffects of a Self-efficacy Promoting Program on Disease Control Behaviors and Disease Control among Patients with Uncontrolled Hypertensionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.