Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวุฒิพงษ์ เชื่อมนอกen_US
dc.contributor.authorทศพร คำผลศิริen_US
dc.contributor.authorเดชา ทำดีen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 57-68en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148035/108981en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67252-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไทและผู้สูงอายุชาวไทยอีสานที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 ราย เป็นผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไท 70 รายและผู้สูงอายุชาวไทยอีสาน 70 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพได้เท่ากับ .81 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพเท่ากับ .99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Mann - Whitney U test และ independent t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไทและผู้สูงอายุชาวไทยอีสาน อยู่ในระดับสูง (= 90.50, S.D. = 10.20 และ = 92.14, S.D. =7.36 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรค อยู่ในระดับสูงทั้งสองกลุ่ม ส่วนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไทและผู้สูงอายุชาวไทยอีสานอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (= 75.92, S.D. = 5.18 และ = 75.58, S.D. = 5.81 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การควบคุมอาหารและน้ำหนักตัว การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงการรับประทานยา และการมาตรวจตามนัด อยู่ในระดับเหมาะสมมากทั้งสองกลุ่ม 2) ความเชื่อด้านสุขภาพ ระหว่างผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไทและผู้สูงอายุชาวไทยอีสานโดยรวมและรายด้านพบว่าไม่แตกต่างกัน (p =.621) ส่วนพฤติกรรมสุขภาพระหว่างผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไทและผู้สูงอายุชาวไทยอีสานโดยรวมพบว่าไม่แตกต่าง (p=.827) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การจัดการความเครียดและการไปตรวจตามนัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.004 และ.042 ตามลำดับ) แต่พฤติกรรมสุขภาพด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไทและผู้สูงอายุชาวไทยอีสานที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไทen_US
dc.subjectผู้สูงอายุชาวไทยอีสานen_US
dc.subjectโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.titleความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุชนเผ่าผู้ไทและผู้สูงอายุชาวไทยอีสานที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.title.alternativeHealth Beliefs and Health Behaviors among Phu Tai and Thai Isan Older Persons with Hypertensionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.