Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67251
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกศินี คันธวงศาen_US
dc.contributor.authorมาลี เอื้ออำนวยen_US
dc.contributor.authorพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่นen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:13Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 22-33en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148028/108975en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67251-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูส่งผลดีในด้านร่างกายและจิตใจต่อมารดาและทารก การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการปฏิบัติในการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดของพยาบาล และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด จำนวน 106 ราย มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 88 ราย และผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด จำนวน 26 ราย รวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตภาคเหนือจำนวน 4 แห่ง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2557 ถึง มกราคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด และแบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติในการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด อยู่ในระดับมากและปานกลาง ร้อยละ 62.3 และ 36.8 ตามลำดับ ทัศนคติ ประสบการณ์ การสนับสนุนจากหัวหน้างานหรือผู้บริหาร และภาระงานรับผิดชอบของ พยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาล มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01 และp < .05) แต่ความรู้ของพยาบาลไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการปฏิบัติของพยาบาล ทัศนคติ ความพร้อมของมารดา ความคิดเห็นของมารดาเกี่ยวกับลักษณะของทารก และการสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์ ตามการรับรู้ของมารดา มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ความรู้ของมารดาไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการปฏิบัติของพยาบาล สำหรับนโยบาย แนวปฏิบัติ การจัดสรรอุปกรณ์สำหรับการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบ แกงการู และการจัดสรรอัตรากำลังที่เหมาะสม ตามการรับรู้ของหัวหน้างานหรือผู้บริหาร ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการู ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลในการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดให้ดีขึ้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูen_US
dc.subjectทารกเกิดก่อนกำหนดen_US
dc.subjectปัจจัยที่เกี่ยวข้องen_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมมารดาดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดแบบแกงการูen_US
dc.title.alternativeFactors Related to Kangaroo Mother Care Promotion for Preterm Infantsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.