Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67250
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กรรณิกา ปิงแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | กนกพร สุคำวัง | en_US |
dc.contributor.author | ภารดี นานาศิลป์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:13Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:13Z | - |
dc.date.issued | 2560 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 44, ฉบับพิเศษ (1) (ธ.ค. 2560), 34-44 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/148031/108977 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67250 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ แม้ว่าในระยะแรกของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ผู้สูงอายุจะมีความผิดปกติในด้านของความจำ แต่ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่างไรก็ตามความรุนแรงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นหากไม่มีการป้องกันหรือชะลอความรุนแรง การปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยง ความรุนแรงของโรคและมีภาวะสุขภาพที่ดี การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพภาวะสุขภาพ และ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในระยะแรก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะแรกที่เข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประสาท จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 106 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ผู้วิจัยดัดแปลงจาก ไพจิตรา ล้อสกุลทอง (2545) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1.คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง (= 47.39, S.D. = 4.52) โดยมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ด้านโภชนาการ อยู่ในระดับสูง ด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ( =79.63, S.D. = 8.59) 2.พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับภาวะสุขภาพ อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .204, p < .05) และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .303,p < .01) ขณะที่พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการมีกิจกรรมทางกายและด้านโภชนาการไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพในการวางแผนกิจกรรมในการส่งเสริมในด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการดูแลด้านภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกต่อไป | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ภาวะสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | ภาวะสมองเสื่อม | en_US |
dc.title | พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในระยะแรก | en_US |
dc.title.alternative | Health Promoting Behaviors and Health Status of Older Persons with Early-Stage Dementia | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.