Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67239
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณฐา เชียงปิ๋วen_US
dc.contributor.authorวราภรณ์ บุญเชียงen_US
dc.contributor.authorศิวพร อึ้งวัฒนาen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 45, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 87-99en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136166/101621en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67239-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractโรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย แนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือการป้องกันผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำด้านสุขภาพของชุมชน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือด สมองต่อความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ อสม. ผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็น อสม. ที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 ราย โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมการศึกษาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับความรู้ก่อนการอบรม ตามปกติของโรงพยาบาล หรือแหล่งข้อมูลต่างๆ จำนวน 20 ราย และกลุ่มทดลองที่ได้รับความรู้เรื่อง การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จำนวน 20 ราย ทำการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2557 ถึงเดือนมกราคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของ อสม. โปรแกรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น แบบทดสอบความรู้ โรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการป้องกันโรคหลอดเลือด สมองของ อสม.ทำการเปรียบเทียบข้อมูลผลลัพธ์ก่อนและหลังการศึกษาการใช้โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ชนิดกลุ่มตัวอย่างเป็นที่อิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะแห่งตน เรื่องการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีผลทำให้ผู้เข้าร่วมการศึกษามีความรู้ เกิดการพัฒนาความรู้ และมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จึงควรนำโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการสอน อสม. เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.subjectการรับรู้สมรรถนะแห่งตนen_US
dc.subjectอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านen_US
dc.titleผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านen_US
dc.title.alternativeEffects of Participatory Learning Regarding Stroke Prevention on Knowledge and Self-efficacy among Village Health Volunteersen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.