Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจิรัฏฐ์ ศรีหัตถจาติen_US
dc.contributor.authorปภาวดี ปัญจวัฒนคุณen_US
dc.contributor.authorพลอยนภัส โล่หิรัญญานนท์en_US
dc.contributor.authorธีรสุดา จินชัยen_US
dc.contributor.authorเพ็ญพิชชา นิตยารัมภ์พงศ์en_US
dc.contributor.authorพิชชาชัย เล็กสวัสดิ์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.available2020-04-02T14:43:12Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,1 (ม.ค.-เม.ย. 2560) 113-120en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_1_434.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67237-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน 2 ชนิด ที่มีส่วนผสมของแคลเซียมโซเดียมฟอสโฟซิลิเกต (โนวามิน) และร้อยละ 8 อาร์จินีนแคลเซียมคาร์บอเนตต่อแรงยึดติดแบบเฉือนระหว่างเนื้อฟันกับวัสดุอุดฟันชนิดเรซินคอมโพสิต วัสดุและวิธีการ: ฟันกรามน้อย 70 ซี่ เตรียมชิ้นฟันให้มีขนาดตามที่กำหนด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่แปรงด้วยน้ำกลั่น แปรงด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโนวามิน (เซนโซดายน์ รีแพร์ แอนด์ โพร์เทค) และแปรงด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของร้อยละ 8 อาร์จินีน แคลเซียมคาร์บอเนต (คอลเกตเซนซิทีฟ โปรรีลีฟ) ทาสารยึดติดชนิดเซลฟ์เอช (Clearfil SE bond) และบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิต ทดสอบค่าแรงยึดติดแบบเฉือนด้วยเครื่องทดสอบแรงมาตรฐาน (SHIMADZU EZ-S) บันทึกแรงที่ใช้เป็นหน่วยเมกะปาสคาลและนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ One- way ANOVA ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา: ค่าแรงยึดติดแบบเฉือนในกลุ่มที่แปรงด้วยน้ำกลั่นมีค่าเฉลี่ย 11.94 เมกะปาสคาล ในขณะที่กลุ่มที่แปรงด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโนวามินมีค่าเฉลี่ยแรงยึดติดแบบเฉือนอยู่ที่ 10.67 เมกะปาสคาลและกลุ่มที่แปรงด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของร้อยละ 8 อาร์จินีน แคลเซียมคาร์บอเนตมีค่าเฉลี่ยแรงยึดติดแบบเฉือนอยู่ที่ 8.65 เมกะปาสคาล เมื่อวิเคราะห์ด้วย One-way ANOVA พบว่ากลุ่มที่แปรงด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของร้อยละ 8 อาร์จีนีน แคลเซียมคาร์บอเนตเมื่อเทียบกับกลุ่มที่แปรงด้วยน้ำกลั่นมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.001) และกลุ่มที่แปรงด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของร้อยละ 8 อาร์จีนีน แคลเซียมคาร์บอเนตเมื่อเทียบกับกลุ่มที่แปรงด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโนวามิน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.008) สรุป: กลุ่มที่แปรงด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของร้อยละ 8 อาร์จินีน แคลเซียมคาร์บอเนตมีค่าเฉลี่ยแรงยึดแบบเฉือนต่ำที่สุดและมีค่าแตกต่างจากสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectยาสีฟันลดอาการเสียวฟันen_US
dc.subjectเรซินคอมโพสิตen_US
dc.subjectแรง ยึดติดแบบเฉือนen_US
dc.subjectสารยึดติดen_US
dc.titleผลของยาสีฟันลดอาการเสียวฟันต่อค่าแรงยึดติดแบบเฉือนระหว่างเนื้อฟันกับเรซินคอมโพสิตen_US
dc.title.alternativeThe Effect of Desensitizing Dentifrices on Shear Bond Strength between Dentin and Resin Compositeen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.