Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67224
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ม่า เหว่ยลี่ | en_US |
dc.contributor.author | ทรียาพรรณ สุภามณี | en_US |
dc.contributor.author | บุญพิชชา จิตต์ภักดี | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-02T14:43:12Z | - |
dc.date.available | 2020-04-02T14:43:12Z | - |
dc.date.issued | 2562 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 46, ฉบับพิเศษ (ธ.ค. 2562), 94-103 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/232541/158933 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67224 | - |
dc.description | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ | en_US |
dc.description.abstract | ระดับความเครียดในการทำงานที่เพิ่มสูงขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อปัญหาทางลบมากมายในระบบบริการสุขภาพ ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญต่อพยาบาลในการลดความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงาน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์และระดับความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงานของพยาบาล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงานของพยาบาลในโรงพยาบาลแห่งประชาชนต้าหลี่ สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลจำนวน 273 ราย ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแห่งประชาชน 2 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของหว่องและลอว์ (Wong and Law Emotional Intelligence Scale) และเครื่องมือวัดความเครียดจากการทำงานแบบมาตรฐานของสถาบันสุขภาพและความปลอดภัย (HSE Management Standards Work-related Stress Indicator Tool) ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคของแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของหว่องและลอว์เท่ากับ 0.91 และเครื่องมือวัดความเครียดจากการทำงานแบบมาตรฐานของสถาบันสุขภาพและความปลอดภัยเท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาและสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์สเปียแมน ผลการศึกษาพบว่า 1.ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมของพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.44) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า การประเมินอารมณ์ของตนเองอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การประเมินอารมณ์ของผู้อื่น การควบคุมอารมณ์ และการใช้อารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง 2.ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงานของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า 5 จาก 7 ด้านของความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงาน ได้แก่ ความต้องการ การควบคุม การสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดการ ความสัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านการสนับสนุนจากเพื่อนและด้านบทบาทอยู่ในระดับต่ำ 3.ความฉลาดทางอารมณ์ของพยาบาลมีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับต่ำกับความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = -0.13) ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงานของพยาบาลได้ | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ความเครียดในการทำงาน | en_US |
dc.subject | ความฉลาดทางอารมณ์ | en_US |
dc.subject | พยาบาล | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลรัฐบาล | en_US |
dc.title | ความฉลาดทางอารมณ์และความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงานของพยาบาลในโรงพยาบาล แห่งประชาชนต้าหลี่ สาธารณรัฐประชาชนจีน | en_US |
dc.title.alternative | Emotional Intelligence and Work - related Stress of Nurses in the People ’ s Hospitals of Dali, the People ’ s Republic of China | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.