Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริพงศ์ ศิริมงคลวัฒนะen_US
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ บุญแก้วen_US
dc.contributor.authorธารินทร์ เพียงสุขen_US
dc.contributor.authorธีระพงษ์ ม้ามณีen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:32:32Z-
dc.date.available2020-04-02T14:32:32Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 71-80en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_415.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67204-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนของสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซลและเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์อัลทิเมทกับเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกต เปรียบเทียบกับเซลฟ์เอตช์เรซินซีเมนต์ชนิดมัลติลิงค์เอ็น เรซินซีเมนต์ชนิดพานาเวียเอฟสองจุดศูนย์และเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์ยูนิเซ็ม สร้างชิ้นงานเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกต รูปร่างทรงกระบอกจำนวน 40 ชิ้น นำชิ้นงานฝังในท่อพีวีซี ขัดชิ้นงานให้เรียบแบ่งเป็น 4 กลุ่มทดลอง (n=10) ทำการปรับสภาพพื้นผิวเซรามิก ด้วยกรดไฮโดรฟลูออริก ความเข้มข้นร้อยละ 5 นาน 20 วินาที ล้างน้ำ 60 วินาที ทาไซเลนบนพื้นผิวเซรามิกในกลุ่มที่ 1 2 และ 3 นาน 60 วินาที ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ยึดติดชิ้นงานกับแท่งเรซินคอมโพสิต ด้วยเรซินซีเมนต์ 3 ชนิดคือ เรซินซีเมนต์ชนิดมัลติลิงค์เอ็น ชนิดพานาเวียเอฟสองจุดศูนย์ และชนิดรีไลย์เอ็กซ์ยูนิเซ็ม ตามลำดับ ฉายแสงแต่ละด้าน ด้านละ 40 วินาที ในกลุ่มที่ 4 ทาสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซล 20 วินาที ยึดติดชิ้นงานกับแท่งเรซินคอมโพสิต ด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์ เอ็กซ์อัลทิเมท ฉายแสงแต่ละด้าน ด้านละ 40 วินาที นำชิ้นทดสอบทั้งหมดไปแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำชิ้นทดสอบทั้งหมดไปทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากลชนิดอินสตรอนความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตร/นาที และดูลักษณะพื้นผิวของการแตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง นำค่าความแข็งแรงยึดเฉือนของแต่ละกลุ่มมา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลองพบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนของสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซลกับเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์อัลทิเมท (15.12±3.46 เมกะปาสคาล) กับเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตไม่แตกต่างกันกับเซลฟ์เอตช์เรซินซีเมนต์ชนิดมัลติลิงค์เอ็น (14.27±2.92 เมกะปาสคาล) เรซินซีเมนต์ชนิดพานาเวียเอฟสองจุดศูนย์ (14.72±3.86 เมกะปาสคาล) และเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์ยูนิเซ็ม (16.90±2.68 เมกะปาสคาล) ที่ใช้ร่วมกับสารคู่ควบไซเลนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลักษณะความล้มเหลวที่พบส่วนใหญ่เกิดความล้มเหลวแบบผสม ภายใต้ข้อจำกัดของการทดลองนี้ การใช้สารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซลร่วมกับเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์อัลทิเมทมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนไม่แตกต่างกันกับเซลฟ์-เอตช์เรซินซีเมนต์ชนิดมัลติลิงค์เอ็น ชนิดพานาเวียเอฟสองจุดศูนย์ หรือเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์ยูนิเซ็มen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซลen_US
dc.subjectความแข็งแรงยึดเฉือนen_US
dc.subjectลิเทียมไดซิลิเกตen_US
dc.subjectเรซินซีเมนต์en_US
dc.subjectเซรามิกen_US
dc.titleกำลังแรงยึดเฉือนของสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซลและรีไลย์เอ็กซ์อัลติเมทเรซินซีเมนต์กับเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตen_US
dc.title.alternativeShear Bond Strength of ScotchbondTM Universal Adhesive and RelyXTM Ultimate Resin Cement to Lithium-disilicate Ceramicen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.