Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67195
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสั่งสม ประภายสาธกen_US
dc.contributor.authorอภิรุม จันทน์หอมen_US
dc.contributor.authorภัทรานันท์ มหาสันติปิยะen_US
dc.contributor.authorอานนท์ จารุอัคระen_US
dc.contributor.authorสการัตห์ ประโมจนีย์en_US
dc.contributor.authorการุณ เวโรจน์en_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:32:32Z-
dc.date.available2020-04-02T14:32:32Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560) 103-114en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_1_404.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67195-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractที่มา: การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่อยู่ในแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคางจากการฝังรากฟันเทียมในบริเวณระหว่างรูเปิดข้างคางของขากรรไกรล่างอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการรับรู้ของประสาทสัมผัสบริเวณริมฝีปากและคางได้ การศึกษาเกี่ยวกับความชุกและความยาวของแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคางในประชากรไทยพบมีน้อยมาก วัตถุประสงค์: เพี่อหาความชุกและความยาวของแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคางในประชากรไทยโดยใช้ภาพรังสีโคนบีมซีที วัสดุและวิธีการ: ทำการศึกษาจากภาพรังสีโคนบีมซีทีที่ถ่ายจากเครื่องโพรแม็กซ์ทรีดี (Promax 3D®, Planmeca,Helsinki, Finland) จากศูนย์เอกซเรย์ทางทันตกรรมคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในช่วงีพ.ศ.2553-2555 จากเกณฑ์การคัดเลือกพบมีภาพรังสีของผู้ป่วยจำนวน 102 รายที่นำมาใช้ ผู้สังเกตการณ์ 3 คนที่ได้รับการปรับมาตรฐานแล้วทำการประเมินการมีโครงสร้างแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคาง และวัดความยาวของโครงสร้างดังกล่าวจากภาพระนาบต่างๆ ผลการศึกษา: ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างพบการมีแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคางทั้งสองข้างร้อยละ 4 พบโครงสร้างดังกล่าวเพียงข้างเดียวของขากรรไกร และร้อยละ 3 ไม่พบโครงสร้างนั้นๆ ความยาวของแนวโค้งมีค่าตั้งแต่ 0.90-7.20 มม.โดยมีความยาวเฉลี่ยของด้านซ้ายและขวาเท่ากับ 3.62±1.23 มม. และ3.42±1.19 มม. ตามล�ำดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความยาวที่พบในขากรรไกรทั้งสองด้าน (P = 0.064) ระหว่างเพศ (P = 0.168) และกลุ่มอายุ (P = 0.403) มากกว่าร้อยละ 99 ของกลุ่มตัวอย่างพบความยาวแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคางมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6.30 มม.สรุปและอภิปรายผล: ประชากรไทยกลุ่มที่ทำการศึกษามีความชุกของการพบแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคางสูงถึงร้อยละ 93 ศัลยแพทย์ควรตระหนักและให้ความสำคัญถึงการมีโครงสร้างนี้ในการฝังรากฟันเทียมบริเวณระหว่างรูเปิดข้างคางในขากรรไกรล่าง โดยอาจกล่าวได้ว่าการฝังรากฟันเทียมที่ระยะห่างจากขอบหน้าของรูเปิดข้างคางมากกว่า 6.30 มม. สามารถให้ความปลอดภัยได้ในร้อยละ 99 ของประชากรไทยen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคาง รากฟันเทียมen_US
dc.subjectภาพรังสีโคนบีมซีทen_US
dc.subjectการบาดเจ็บของเส้น ประสาทอินฟีเรียen_US
dc.subjectอัลวิโอลาร์en_US
dc.titleการศึกษาเกี่ยวกับแนวโค้งด้านหน้าของคลองประสาทข้างคางในผู้ป่วยชาวไทยโดยภาพรังสีโคนบีมซีทีen_US
dc.title.alternativeA CBCT Study of the Anterior Loop of the Mental Canal in Thaisen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.