Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67194
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศศิเพ็ญ พวงสายใจen_US
dc.contributor.authorสุขุม พันธุ์ณรงค์en_US
dc.contributor.authorพิมลพรรณ บุญยะเสนาen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:32:32Z-
dc.date.available2020-04-02T14:32:32Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 19, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 39-65en_US
dc.identifier.issn0859-8479en_US
dc.identifier.urihttps://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/61021/50267en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67194-
dc.descriptionวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการ ดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชน (Microfinance) ตาม แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกิดขึ้นกับคนและชุมชน ท้องถิ่น และศึกษารูปแบบองค์กรการเงินที่ชุมชนต้องการ โดยเปรียบเทียบการดำเนินงานระหว่างกลุ่มองค์กรการเงิน ชุมชนที่เข้มแข็ง (Best Practice) จำนวน 517 ตัวอย่างกับกลุ่มองค์กรการเงินชุมชนที่ยังไม่ เข้มแข็ง (Non - Best Practice) จำนวน 520 ตัวอย่าง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษาผลสัมฤทธ์จิ ากการดำเนินงาน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่ากลุ่มองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งมีการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจชุมชนในด้าน ต่างๆมาประยุกต์ใช้มากกว่า กลุ่มองค์กรการเงินที่ยังไม่เข้มแข็ง กล่าวคือ 1) ด้านความ พอประมาณ กลุ่มองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งมีจำนวนสมาชิกที่ออมเงินมากกว่า มีความ สม่ำเสมอในการออม จำนวนเงินออมเฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า มีจำนวนสมาชิกกู้ยืมเงินน้อยกว่า มีปัญหาการชำระคืนเงินกู้น้อยกว่า 2) ด้านความมีเหตุผล กลุ่มองค์กรการเงินชุมชนที่ เข้มแข็งมีจำนวนสมาชิกนำเงินไปใช้ตรงตามเป้าหมายของการกู้มากกว่า 3) ด้านการมี ภูมิคุ้มกันที่ดี กลุ่มองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งมีจำนวนสมาชิกทำบัญชีครัวเรือน บัญชี รับ-จ่ายมากกว่า มีการสร้างวินัยทางการเงิน การจัดการทางการเงินที่ดี 4) ด้านความรู้ สมาชิกของทั้ง 2 กลุ่มไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาความรู้ความสามารถผ่านการ ฝึกอบรมและศึกษาดูงาน และ 5) ด้านคุณธรรม กลุ่มองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งมี สมาชิกที่มีคุณธรรมในด้านการทำงานร่วมกันและอยู่ร่วมกัน การเสียสละ การทำงานเพื่อ ชุมชน และการปฏิบัติตนอยู่ในกฎ ระเบียบของกลุ่มมากกว่า รูปแบบการให้บริการขององค์กรการเงินชุมชนคนในชุมชนต้องการ คือในกลุ่ม ชุมชนเมือง รูปแบบองค์กรการเงินชุมชนที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็นของสมาชิก ไม่ดำเนินการเฉพาะกลุ่มในวงจำกัด สามารถตรวจสอบการ ดำเนินการได้ มีผลตอบแทนเงินฝากสูงและมีดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำกว่าธนาคาร มีการค้ำประกัน ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระเงินกู้ มีระบบกู้เงินที่ไม่ยุ่งยาก ในกลุ่มชุมชนกึ่งเมืองต้องการ รูปแบบองค์กรการเงินชุมชนที่ควรมีคณะกรรมการกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถ มีที่ปรึกษา กลุ่มที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถ มีความยืดหยุ่นในการปล่อยกู้ มีรูปแบบการกู้ที่ หลากหลาย และกำหนดวงเงินและอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับแต่ละอาชีพ ในกลุ่มชุมชน ชนบทต้องการรูปแบบองค์กรการเงินชุมชนที่กลุ่มควรมีโครงสร้างชัดเจน แบ่งหน้าที่และ ระบบการทำงานที่ชัดเจน มีการฝึกอบรมให้ความรู้การจัดทำบัญชีแบบลงด้วยมือและควร ลดขึ้นตอนด้านงานเอกสารลง เป็นต้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectองค์กรการเงินชุมชนen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์en_US
dc.subjectปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.titleการศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการใหบริการ Microfinance ที่เกิดกับคนและชุมชนท้องถิ่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.