Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67190
Title: | การศึกษาจากกรณีศึกษา Microfinance เพื่อหาแนวทางบริหารจัดการระบบให้บริการทางการเงินระดับจุลภาคในชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา: 8 จงั หวดั ภาคเหนือตอนบน |
Authors: | ไพรัช กาญจนการุณ ศศิเพ็ญ พวงสายใจ พิมลพรรณ บุญยะเสนา สุขุม พันธุ์ณรงค์ |
Authors: | ไพรัช กาญจนการุณ ศศิเพ็ญ พวงสายใจ พิมลพรรณ บุญยะเสนา สุขุม พันธุ์ณรงค์ |
Keywords: | องค์กรการเงินชุมชน |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 19, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 67-81 |
Abstract: | การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจากกลุ่มองค์กรการเงิน ชุมชนที่เข้มแข็งถึงแนวทางบริหารจัดการระบบให้บริการทาง การเงินระดับจุลภาคในแต่ละสภาพชุมชนตามแนวทางปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มองค์กรการเงิน ชุมชน (Microfinance) ที่เข้มแข็ง (Best Practice) จำนวน 24 แห่ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ผลการศึกษา พบว่าแนวทางการดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนตามแนวทาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีแนวทางดังนี้ (1) ด้านความพอประมาณ องค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งมีการปล่อยกู้เพื่อการ ลงทุนให้สมาชิกในวงเงินตามระดับการออมของสมาชิก มีการจำกัดเพดานสูงสุดของเงิน ออม ควรมีการส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มการเงินชุมชนมีอาชีพเสริมที่ก่อให้เกิดรายได้ ส่งเสริม การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดรายจ่ายของครัวเรือน เช่น มีการปลูกผักสวนครัว ผลไม้ และการ เลี้ยงสัตว์ ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยต่างๆ ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดหรือเลิกอบายมุข สุรา ยาสูบ หวย และการพนัน เป็นต้น (2) ด้านความมีเหตุผล องค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งมีการดำเนินงานโดยการ จัดทำแผน/โครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ของกลุ่ม เพื่อให้เกิดการ พัฒนากลุ่มการเงินอย่างมีทิศทาง มีแนวคิดในการบริหารจัดการ การให้บริการ การจัด สวัสดิการที่ชัดเจน มีการส่งเสริมสมาชิกกลุ่มจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อสามารถวิเคราะห์การ ใช้จ่ายของครัวเรือน อันจะนำสู่การปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของครอบครัว (3) ด้านการมีภูมิคุ้มกัน องค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งมีการประกันความเสี่ยง จากการกู้เงิน เช่นใช้สมาชิกหรือผู้ใช้บริการรายอื่น เป็นผู้ค้ำประกัน 2 คน และคู่สมรสต้องยินยอมลงลายมือชื่อในเอกสารคำขอกู้และเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งปวง มีการเชิญผู้มีความรู้ ความสามารถมาเป็นที่ปรึกษาและเข้ามาร่วมกิจกรรมกลุ่ม มีการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่ม ชุมชนหรือกลุ่มอาชีพในชุมชนเพื่อทำให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน (4) ด้านความรู้ องค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งมีการฝึกอบรมให้ความรู้หรือศึกษา ดูงานแก่คณะกรรมการและสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ มีการสอนและจัดอบรมให้ความรู้ในการ ทำบัญชี โดยให้คณะกรรมการเป็นวิทยากร ส่งเสริมให้สมาชิกมีการเรียนรู้และอบรมใน แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันที่จัดโดยหน่วยงานต่างๆ ผู้นำ ชุมชน กลุ่ม/องค์กรเครือข่ายชุมชน มีการจัดเวทีเพื่อพูดคุยกันเป็นประจำทุกเดือน ส่งเสริม ให้ชุมชนมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีการถ่ายทอดและนำไปใช้ในการ ประกอบพิธีกรรม การทำการเกษตร การประกอบอาชีพของหมู่บ้าน มีการส่งเสริมจัดการ ความรู้ในชุมชนบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่น (5) ด้านคุณธรรม องค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็งควรยึดหลักคุณธรรมในการ บริหารงาน ดำเนินงานโดยมีความซื่อสัตย์ต่อกัน มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความ รับผิดชอบ มีความเห็นอกเห็นใจต้องการช่วยเหลือกันและกันและมีความไว้วางใจซึ่งกันและ กัน เป็นต้น ส่งเสริมให้คนในชุมชนส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนา |
Description: | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ |
URI: | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/61024/50269 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67190 |
ISSN: | 0859-8479 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.