Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67139
Title: | ผลของการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุ |
Other Titles: | Effect of Square-Stepping Exercise on Balance Among Older Persons |
Authors: | รัญชนา หน่อคำ ศิริรัตน์ ปานอุทัย ทศพร คำผลศิริ |
Authors: | รัญชนา หน่อคำ ศิริรัตน์ ปานอุทัย ทศพร คำผลศิริ |
Keywords: | การออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง;การทรงตัว;ผู้สูงอายุ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ก.ย. 2559), 58-68 |
Abstract: | เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมถอยของระบบที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว ได้แก่ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทรับความรู้สึก และระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ ส่งผลให้ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุลดลง การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 จำนวน 47 ราย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือก โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับการออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 40 นาทีเป็นระยะเวลานาน 12 สัปดาห์ และกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบบันทึกระยะเวลาที่ใช้ในการทำ Time Up and Go Test (TUGT) วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบการทรงตัวระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติแมนวิทนีย์ยู (The Mann-Whitney U Test) และเปรียบเทียบการทรงตัวของกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลัง การออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง โดยใช้สถิติวิลคอกซันจับคู่เครื่องหมายตำแหน่ง (The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การทรงตัวของผู้สูงอายุกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง ดีกว่าผู้สูงอายุกลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. การทรงตัวของผู้สูงอายุภายหลังการออกกำลังกายแบบก้าวตามตาราง ดีกว่าก่อนการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลของการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางส่งผลให้การทรงตัวของ ผู้สูงอายุดีขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางสามารถนำไปใช้เป็นทางเลือกในการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการทรงตัวของผู้สูงอายุได้ When entering old age, there is a degenerative change in the system related to balancecontrol including the central nervous system, the sensory nervous system and the musculoskeletal system. This quasi-experimental study aimed to examine the effect of square-stepping exercise on balance among older persons, residing in Nong Hoi Subdistrict, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Province during July to September 2013. There were 47 subjects selected by using multi-stage sampling and purposive sampling and separated into 2 groups; the older adults who performed square-stepping exercise for 40 minutes, 3 times a week for 12 weeks and the older adults who did not perform square-stepping exercise.The instruments used to collect data consisted of the recording form of personal data and the recording form of the time used in the Time Up and Go Test (TUGT). The personal data were analyzed by descriptive statistics. The mean of time between experimental and controlgroups was compared by the Mann-Whitney U Test and the mean of time of experimental group between before and after exercise was compared by the Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test. The results of this study revealed that:1. The balance of the older persons who perform square-stepping exercise wassignificantly better than the older persons who did not perform square-stepping exercise at the significance level of .001.2. The balance of the older persons after performing square-stepping exercise wassignificantly better than that of before at the significance level of .001.The results of this research indicate that square-stepping exercise can improve balance among older persons. Therefore, square-stepping exercise can be another choice ofexercise to improve balance in older persons. |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/75136/60566 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67139 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.