Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67134
Title: | แนวทางการปรับปรุงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเพิ่มความพึงพอใจ |
Other Titles: | Design guidelines for improving outpatient building of a community hospital in order to increase satisfaction |
Authors: | ณัฐภูมิ พงษ์เย็น ธานัท วรุณกูล |
Authors: | ณัฐภูมิ พงษ์เย็น ธานัท วรุณกูล |
Keywords: | สิ่งแวดล้อม;สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเบียวยา;โรงพยาบาลชุมชน |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 4, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 49-62 |
Abstract: | บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน โดยนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเพื่อเรียงลำดับปัจจัยที่ควรปรับปรุงก่อนและหลังตามเกณฑ์ความพึงพอใจของผู้ใช้งานอาคาร โดยจะแบ่งปัจจัยออกเป็นกลุ่มตามประเภทของสิ่งแวดล้อมซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ปัจจัยทางด้านบรรยากาศโดยรอบ ปัจจัยทางด้านอาคาร ปัจจัยทางด้านการตกแต่งภายใน และ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร โดยปัจจัยด้านบรรยากาศโดยรอบสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. กลิ่น (มีค่าความสำคัญ 0.278 หรือ 27.8%), 2. คุณภาพอากาศ (0.204 หรือ 20.4%), 3. ระดับเสียง (0.185 หรือ 18.5%), 4. แสงสว่าง (0.167 หรือ 16.7%), 5. อุณหภูมิ (0.165 หรือ 16.5%) ปัจจัยทางด้านอาคารสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบห้องน้ำ (มีค่าความสำคัญ 0.383 หรือ 38.3%), 2. ทางเข้าออก (0.172 หรือ 17.2%), 3. วัสดุพื้น (0.172 หรือ 17.2%), 4. การจัดผัง (0.155 หรือ 15.5%), 5. หน้าต่าง (0.146 หรือ 14.6%) ปัจจัยทางด้านการตกแต่งภายในสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. ป้ายบอกทาง (มีค่าความสำคัญ 0.329 หรือ 32.9%), 2. เครื่องเรือน (0.216 หรือ 21.6%), 3. ธรรมชาติ (0.201 หรือ 20.1%), 4. โทรทัศน์ (0.144 หรือ 14.4%), 5. สี (0.110 หรือ 11.0%) ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารสามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ 1. ที่จอดรถ (มีค่าความสำคัญ 0.250 หรือ 25.0%), 2. ที่นั่งพัก (0.231 หรือ 23.1%), 3. ส่วนให้บริการพิเศษ (0.219 หรือ 21.9%), 4. ทัศนียภาพรอบอาคาร (0.148 หรือ 14.8%), 5. ส่วนต่อเติมอาคาร (0.104 หรือ 10.4%) ทั้งนี้จากลำดับค่าความสำคัญดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ควรเลือกปรับปรุงก่อนคือปัจจัยที่เป็นปัญหาที่พบในโรงพยาบาลและส่งผลต่อความรู้สึกในด้านลบก่อนเนื่องจากส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานอาคารมากที่สุด เช่น การปรับปรุงเรื่องกลิ่นเหม็น ป้ายบอกทางที่สับสน แล้วจึงเลือกปรับปรุงปัจจัยที่เกี่ยวกับการใช้งานโดยตรงกับผู้ใช้บริการ เช่น การเลือกและการจัดเครื่องเรือนให้เหมาะสมกับการใช้งาน และปรับปรุงปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้สึกในด้านบวกเป็นลำดับสุดท้าย เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมด้วยต้นไม้และน้ำพุ การเปลี่ยนสีอาคารให้ดูใหม่ เป็นต้น This research aims to determine the design guidelines for the improvement of community hospitals. The research presets the relationship between design factors and users’ satisfaction levels. Four main factors are used to assess the patients’ satisfaction levels which are ambient features, architectural features, interior design features, and the outdoor environment features. The research results showed the most to the least significant aspects which can been displayed as followings: Ambient Features 1. Smell (significant level 0.278 or 27.8%) 2. Air quality (significant level 0.204 or 20.4%) 3. Noise level (significant level 0.185 or 18.5%) 4. Light (significant level 0.167 or 16.7%) 5. Temperature (significant level 0.165 or 16.5%) Architectural Features 1. Toilets utilities (significant level 0.383 or 13.8) 2. Hospital accessibility and doorways (significant level 0.172 or 17.2) 3. Flooring material (significant level 0.172 or 17.2) 4. Spatial arrangement (significant level 0.155 or 15.5%) 5. Windows (significant level 0.146 or 14.6%) Interior Design Features 1. Guide post (significant level 0.329 or 32.9%) 2. Furniture (significant level 0.216 or 21.6%) 3. Plants and Nature (significant level 0.201 or 20.1%) 4. Television (significant level 0.144 or 14.4%) 5. Color (significant level 0.110 or 11.0%) Outdoor Environment Features 1. Parking lot (significant level 0.250 or 25%) 2. Seating area (significant level 0.231 or 23%) 3. Special facilities (significant level 0.219 or 21.9%) 4. Outside view or environment (significant level 0.148 or 14.8%) 5. Building expansion (significant level 0.104 or 10.4%) The research analysis results can be concluded that the first factor that should be considered for the improvement of the hospital is the factor that has the significant impact on users’ satisfaction level. For example the improvement of the polluted air and ventilation of the hospitals, the confusion of the hospital’s guide post which should be easily read and direct user to the right facilities. Moreover, the following factor that should be considered for the improvement is the factor that has direct impact toward patients, staff and users such as the furniture’s arrangement. The last factor that should be considered is the factor that encourages the positive environment for the hospital such as the landscape arrangement and plants, and the exterior of the hospital. |
Description: | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน |
URI: | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/68322/55639 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67134 |
ISSN: | 2351-0935 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.