Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67124
Title: | การพัฒนาและทดสอบแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสำหรับผู้ปกครองของเด็กอายุ 2-5 ปี |
Other Titles: | Development and testing of a caries risk behavior assessment form for parents of 2-5-year-old children |
Authors: | อังค์วรา อินทรสมพันธ์ ปิยะนารถ จาติเกตุ อุบลวรรณ ธีระพิบูลย์ |
Authors: | อังค์วรา อินทรสมพันธ์ ปิยะนารถ จาติเกตุ อุบลวรรณ ธีระพิบูลย์ |
Keywords: | ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ;ดัชนีคราบจุลินทรีย์ของเด็ก;เด็กก่อนวัยเรียน;ผู้ปกครอง |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 145-158 |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสำหรับผู้ปกครองของเด็กอายุ 2-5 ปี วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนการพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสำหรับผู้ปกครองของเด็กอายุ 2-5 ปีจากการทบทวนวรรณกรรม และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวผู้ปกครองเอง ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบประสิทธิภาพของแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นโดยการเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อ การเกิดโรคฟันผุระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองคือ กลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ 2-5 ปี ที่พาเด็กมารับการรักษาที่คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 31 คู่ ซึ่งผู้ปกครองจะเป็นผู้ประเมินโดยตนเองด้วยแบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มผู้ปกครองของเด็กอายุ 2-5 ปี ที่พาเด็กมารับการรักษาที่คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 30 คู่ ผู้ปกครองกลุ่มนี้จะถูกประเมินโดยผู้วิจัยด้วยแบบประเมินที่ดัดแปลงจากสมาคมทันตแพทย์และกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา เด็กทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการตรวจวัดดัชนีคราบจุลินทรีย์โดยใช้ดัชนีคราบจุลินทรีย์ที่ดัดแปลงจากของ ซิลเนสและเลอ พอร์เชดลีและเฮลี และวิลกิ้นส์ จะทำการเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม 2557 ถึงเดือนสิงหาคม 2557 ทั้งสิ้น 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครองและเด็ก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการ เปลี่ยนแปลงอนามัยช่องปาก โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในแต่ละด้านของกลุ่มทดลอง โดยใช้การทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในแต่ละด้านของกลุ่มควบคุมโดยใช้การทดสอบฟรีดแมน พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมในการทดลองทั้ง 3 ครั้ง โดยใช้การทดสอบแบบทีสำหรับสองกลุ่มที่ไม่สัมพันธ์กัน เปรียบเทียบข้อมูลดัชนีคราบจุลินทรีย์โดยใช้การทดสอบแบบทีสำหรับสองกลุ่มที่ไม่สัมพันธ์กันและการทดสอบแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา: ได้แบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสำหรับผู้ปกครองประเมินได้ด้วยตัวผู้ปกครองเองซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 5 ด้าน ในแต่ละด้านมีจำนวนข้อคำถามที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไปจำนวน 20 คำถาม ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านเชื้อก่อให้เกิดฟันผุและการถ่ายทอดเชื้อ 3คำถาม (2) ปัจจัยด้านการบริโภคนม 4 คำถาม (3) ปัจจัยด้านการบริโภคขนม ผัก ผลไม้ 4 คำถาม (4) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการแปรงฟัน 4 คำถาม และ (5) ปัจจัยด้านอื่นๆ 5 คำถาม ทั้งนี้ มีการกำหนดค่าคะแนนสำหรับคำตอบแล้ว ให้ผู้ปกครองนำคะแนนที่ได้ใส่ลงในรูปภาพใยแมงมุมเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถแปลผลและเข้าใจพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุได้ด้วยตัวเอง และพบว่า พฤติกรรมของผู้ปกครองในกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า ในกลุ่มทดลอง มีการเปลี่ยนแปลงถึง 9 ข้อจากคำถาม 20 ข้อ (ร้อยละ 45) แต่ในกลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลง 3 ข้อ จากคำถาม 7 ข้อ (ร้อยละ 42.9) และเมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนรวมเฉลี่ยของพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุและค่าเฉลี่ยดัชนีคราบจุลินทรีย์ของเด็กระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน บทสรุป: ผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทำให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินปัจจัยที่ทำให้เกิดฟันผุด้วยตนเอง |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_422.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67124 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.