Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67121
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรรณกมล ปัญญารักษ์en_US
dc.contributor.authorสั่งสม ประภายสาธกen_US
dc.contributor.authorปิยะนารถ จาติเกตุen_US
dc.date.accessioned2020-04-02T14:32:27Z-
dc.date.available2020-04-02T14:32:27Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 113-122en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_419.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67121-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractที่มาของการศึกษา: ภาพรังสีปริทัศน์เป็นเครื่องมือสำคัญในการวินิจฉัยโรคในช่องปาก การจัดตำแหน่งผู้ป่วยก่อนการถ่ายภาพรังสีจึงมีความสำคัญเพื่อให้ได้ภาพรังสีที่มีคุณภาพดี วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินจำนวนของข้อผิดพลาดในการจัดตำแหน่งผู้ป่วยและประเมินคุณภาพของภาพรังสีปริทัศน์ชนิดดิจิทัล วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ภาพรังสีปริทัศน์ชนิดดิจิทัลที่ถ่ายในคลินิกรังสีวิทยาช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียลคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 จำนวน 2,093 ภาพนำมาประเมินข้อผิดพลาดในการจัดตำแหน่งผู้ป่วยโดยผู้สังเกตการณ์ 1 คนที่ผ่านการปรับมาตรฐานกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว และทำการประเมินคุณภาพของภาพรังสี แบ่งเป็นคุณภาพภาพดีเยี่ยม คุณภาพภาพที่ยอมรับให้ใช้ในการวินิจฉัยได้ และคุณภาพภาพที่ใช้ไม่ได้ ซึ่งค่าความน่าเชื่อถือของข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยใช้สถิติแคปปา ข้อมูลทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์สถิติเชิงปริมาณด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 22.0 ผลการศึกษา: ภาพรังสีปริทัศน์ชนิดดิจิทัลหนึ่งภาพสามารถพบข้อผิดพลาดในการจัดตำแหน่งผู้ป่วยได้ตั้งแต่ 1 ถึง 5 ประการ ซึ่งข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด คือ ผู้ป่วยไม่วางลิ้นแนบเพดานปาก ส่วนข้อผิดพลาดที่พบรองลงมาเป็นอันดับที่สองและสาม คือ ผู้ป่วยก้มหน้ามากเกินไปและผู้ป่วยกัดหน้าต่อร่องแท่นกัด คิดเป็นร้อยละ 69.2, 11.9และ 5.5 ตามลำดับ ส่วนข้อผิดพลาดสองประการที่มักพบร่วมกัน (ร้อยละ 32.24) คือ ตำแหน่งของลิ้นและคางที่ไม่ถูกต้อง สำหรับการประเมินคุณภาพภาพรังสี พบว่า คุณภาพ ภาพดีเยี่ยมคิดเป็นร้อยละ 16.3 คุณภาพภาพที่ยอมรับให้ใช้ในการวินิจฉัยได้คิดเป็นร้อยละ 81.7 และคุณภาพภาพที่ใช้ไม่ได้คิดเป็นร้อยละ 2.0 อภิปรายและสรุปผล: การวางตำแหน่งลิ้นให้ถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของภาพรังสีปริทัศน์การแก้ไขข้อผิดพลาดนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณของภาพรังสีคุณภาพดีเยี่ยมไดen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectข้อผิดพลาดในการจัดตำแหน่งผู้ป่วยen_US
dc.subjectคุณภาพภาพรังสีen_US
dc.subjectภาพรังสีปริทัศน์ชนิดจิทัลen_US
dc.titleการศึกษาเชิงปริมาณของข้อผิดพลาดในการจัดตำแหน่งผู้ป่วยในภาพรังสีปริทัศน์ชนิดดิจิทัล :การศึกษาย้อนหลังen_US
dc.title.alternativeQuantitative Study of Positioning Errors in Digital Panoramic Radiographs: A Retrospective Studyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.