Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67105
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ณิชกานต์ นเรวุฒิกุล | en_US |
dc.contributor.author | อังสนา อัครพิศาล | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-12-03T09:01:07Z | - |
dc.date.available | 2019-12-03T09:01:07Z | - |
dc.date.issued | 2553 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารเกษตร 26,4 (พ.ย. 2553), 147-154 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-0841 | en_US |
dc.identifier.uri | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00112_C00813.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67105 | - |
dc.description | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 | en_US |
dc.description.abstract | จากการแยกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จากดินบริเวณรอบรากมะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum) และพริก (Capsicum annuum) โดยวิธี soil dilution plate ได้ทั้งหมดจำนวน 33 ไอโซเลท และได้นำมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Sclerotium rolfsii และเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici ในเบื้องต้น คัดเลือกได้ 8 ไอโซเลท คือ ไอโซเลท TKC1, TKC4, TKC7, TKC10, CMM2, CMM5, CMM8 และ CMM13 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. rolfsii โดยมีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญคือ 15.6, 17.2, 22.0, 22.0, 23.6, 23.2, 22.8 และ 0 ตามลำดับ และสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ F. oxysporum f. sp. lycopersici โดยมีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งการเจริญคือ 38.0, 35.2, 34.8, 34.0, 30.4, 36.4, 35.2 และ 0 ตามลำดับ หลังจากนั้นนำแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้งหมด 8 ไอโซเลท ทำการทดสอบความสามารถในการผลิตเอนไซม์ โดยแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท TKC1, TKC4, TKC10 และ CMM13 มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้ และมีเพียง 1 ไอโซเลท คือ CMM13 ที่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ฟอสฟาเตส โดยปรากฏผลของการเกิดบริเวณใสรอบรอยเจริญของเชื้อ และพบว่าทั้ง 8 ไอโซเลทไม่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ ไคติเนส นอกจากนี้ยังพบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ทุกไอโซเลทมีความสามารถในการผลิตเอนไซม์อะไมเลส ยูรีเอส และแคตาเลสได้ ทั้งนี้จะได้นำไปทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคของมะเขือเทศดังกล่าวในสภาพโรงเรือนต่อไป | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | โรครากและโคนเน่า | en_US |
dc.subject | Fusarium oxysporum f. sp. Lycopersici | en_US |
dc.subject | แบคทีเรียปฏิปักษ์ | en_US |
dc.subject | มะเขือเทศ | en_US |
dc.subject | การผลิตเอนไซม์ | en_US |
dc.title | การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อ Sclerotium rolfsii และ Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici สาเหตุโรคทางดินของมะเขือเทศ | en_US |
dc.title.alternative | Evaluation of Bacterial Antagonistic Efficiency for Control of Sclerotium rolfsii and Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici Causing Tomato Soil Borne Diseases | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.