Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเจษฎา จงใจดีen_US
dc.contributor.authorสิทธิชัย ลอดแก้วen_US
dc.contributor.authorสาวิกา กอนแสงen_US
dc.contributor.authorศันศนีย์ จำจดen_US
dc.contributor.authorเบญจวรรณ ฤกษ์เกษมen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 26,4 (พ.ย. 2553), 29-35en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00112_C00799.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67086-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractณหภูมิสูงระหว่างดอกบานเป็นสาเหตุที่ทำให้เกสรเพศผู้เป็นหมันและการผสมเกสรล้มเหลว ผลผลิตข้าวในประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อความเสียหายจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในภาวะโลกร้อน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของอุณหภูมิในช่วงดอกบานต่อความมีชีวิตของละอองเรณูและการปฏิสนธิในข้าวพันธุ์หลัก 3 พันธุ์ คือชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 และสันป่าตอง 1 ปลูกในกระถางสภาพดินน้ำขัง โดยปลูกข้าวแต่ละชุดห่างกันชุดละ 15 วันทั้งหมด 6 ครั้งระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงมกราคม 2552 เพื่อให้ออกดอกในช่วงอุณหภูมิสูงที่แตกต่างกัน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2552 ที่ระยะดอกบาน เก็บตัวอย่างละอองเกสรเพศผู้ของข้าวแต่ละพันธุ์มาประเมินความมีชีวิตโดยการงอกของละอองเรณูในอาหารเลี้ยง และการงอกบนเกสรเพศเมียโดยการย้อมด้วย phenol cotton blue ความสำเร็จของกระบวนการปฏิสนธิประเมินจากการติดเมล็ดและการเติมเต็มเมล็ดที่ระยะสุกแก่ จากการทดลองพบว่าเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นการงอกของละอองเรณูในอาหารเลี้ยงและบนเกสรเพศเมียรวมทั้งเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดลดลง โดยการงอกของละอองเรณูและเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดของข้าวแต่ละพันธุ์นั้นตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงแตกต่างกัน และเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดที่ระยะสุกแก่มีความสัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์การงอกของละอองเรณูในอาหารเลี้ยงและจำนวนละอองเรณูที่งอกบนเกสรเพศเมีย (r = 0.78 และ r = 0.54, P < 0.001 ตามลำดับ) ดังนั้นความมีชีวิตของละอองเรณูและการปฏิสนธินั้นถูกจำกัดโดยอุณหภูมิสูง ซึ่งพันธุ์สุพรรณบุรี 1 มีความทนทานมากที่สุด ส่วนพันธุ์สันป่าตอง 1 เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอที่สุด นอกจากนี้วิธีการประเมินการงอกของละอองเรณูบนอาหารเลี้ยงและบนเกสรเพศเมีย สามารถนำไปใช้ประเมินอิทธิพลของอุณหภูมิต่อการติดเมล็ดในข้าวได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอุณหภูมิสูงen_US
dc.subjectการบานของดอกen_US
dc.subjectความมีชีวิตของละอองเรณูen_US
dc.subjectการปฏิสนธิen_US
dc.subjectการติดเมล็ดen_US
dc.titleผลของอุณหภูมิสูงต่อความมีชีวิตของละอองเรณูและการปฏิสนธิในพันธุ์ข้าวไทยen_US
dc.title.alternativeEffects of High Temperature on Pollen Viability and Fertilization in Thai Rice Varietiesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.