Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67080
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิลาสินี แสงนาคen_US
dc.contributor.authorสรัญยา ณ ลำปางen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:07Z-
dc.date.issued2553en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 26, 3 (ต.ค. 2553), 213-222en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00110_C00757.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67080-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractการศึกษาประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้จากต้นยูคาลิปตัสและสะเดา ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยรวบรวมเชื้อราได้ทั้งหมด 131 ไอโซเลท จากนั้นทดสอบความต้านทานต่อสารกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิม พบเชื้อราที่ต้านทานสารป้องกันกำจัดเชื้อราคาร์เบนดาซิมระดับสูง (HR) จำนวน 94 ไอโซเลท (71.76%), ต้านทานระดับปานกลาง (MR) 2 ไอโซเลท (1.53%) และระดับอ่อนแอ (S) 35 ไอโซเลท (26.72%) สำหรับ การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อรา C. gloeosporioides โดยผสมน้ำส้มควันไม้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ potato dextrose agar (PDA) ที่ระดับความเข้มข้นที่ทำการทดลอง พบว่าน้ำส้มควันไม้ทั้ง 2 ชนิด ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 2% (v/v) ขึ้นไป ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ 100% ส่วนประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของโคนิเดียที่เวลา 24 ชั่วโมง พบว่าน้ำส้มควันไม้ทั้ง 2 ชนิด ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1% (v/v) ขึ้นไป ยับยั้งการงอกของสปอร์ได้ 100% จากประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสที่ระดับความเข้มข้นน้อยสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใย และการงอกของสปอร์เชื้อราได้ดีกว่าน้ำส้มควันไม้สะเดา จึงนำน้ำส้มควันไม้ยูคาลิปตัสทดสอบการควบคุมโรคบนผลมะม่วง โดยแช่มะม่วงในน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้น 1, 2 และ 3% (v/v) เป็นเวลา 1, 3 และ 5 นาที ตามลำดับ แล้วปลูกเชื้อ พบว่าการแช่มะม่วงในน้ำส้มควันไม้ 1% (v/v) เป็นเวลา 1 นาที สามารถลดการเกิดโรคได้ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม เมื่อตรวจสอบคุณภาพของมะม่วงภายหลังจากการแช่น้ำส้มควันไม้เป็นเวลา 16 วัน กลิ่นจะหายไปในวันแรกหลังจากการแช่น้ำส้มควันไม้ และไม่พบอาการของโรคที่ผล ในขณะที่ชุดควบคุมแสดงอาการของโรคทั่วทั้งผล นอกจากนี้สีเปลือก และรสชาติของมะม่วงไม่ต่างจากมะม่วงก่อนนำมาแช่น้ำส้มควันไม้ กล่าวโดยสรุปน้ำส้มควันไม้จากยูคาลิปตัสมีศักยภาพในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในผลมะม่วงen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectน้ำส้มควันไม้en_US
dc.subjectColletotrichum gloeosporioidesen_US
dc.subjectมะม่วงen_US
dc.titleประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้จากต้นยูคาลิปตัสและสะเดาในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioidesen_US
dc.title.alternativeEfficiency of Wood Vinegar Extracts from Eucalyptus and Neem Trees for Controlling Colletotrichum gloeosporioidesen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.