Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67078
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | ศศิเพ็ญ พวงสายใจ | en_US |
dc.contributor.author | ไพรัช กาญจนการุณ | en_US |
dc.contributor.author | วรลักษณ์ หิมะกลัส | en_US |
dc.contributor.author | สุชาติ พรหมขัติแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | สุขุมพันธุ์ ณรงค์ | en_US |
dc.contributor.author | พิมลพรรณ บุญยะเสนา | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-12-03T09:01:07Z | - |
dc.date.available | 2019-12-03T09:01:07Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 79-101 | en_US |
dc.identifier.issn | 0859-8479 | en_US |
dc.identifier.uri | https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/72648/58434 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67078 | - |
dc.description | วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ | en_US |
dc.description.abstract | ปัญหาหนี้นอกระบบเป็นหนึ่งในปัญหาที่ประชาชนคนไทย โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยประสบ รัฐบาลจึงได้มีนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน งานวิจัยนี้ศึกษาปัญหาการเป็นหนี้นอกระบบของประชาชน และสร้างแนวทางแก้ไขโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามจากประชาชนที่อาศัยในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวมทั้งสิ้น 1,801 ตัวอย่าง และใช้กรณีศึกษาที่มีกาปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practice) รวมถึงการประชุมเสวนากับหน่วยงานภาครัฐและผู้นำชุมชน เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบส่วนใหญ่ประกอบอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน สาเหตุที่ทำให้เป็นหนี้นอกระบบ คือ ต้องการเงินลงทุน นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และนำไปใช้หนี้เดิม ผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบส่วนใหญ่กู้จากนายทุนเงินกู้เนื่องจากไม่สามารถกู้ยืมเงินในระบบได้ และมากกว่าร้อยละ 75 ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 30 ต่อปี เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า ด้านความพอประมาณ กลุ่มตัวอย่างมีการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ทั้งที่มีรายได้น้อย รายจ่ายที่ไม่จำเป็นยังคงเป็นสัดส่วนที่สูง ด้านความมีเหตุผล พบว่ามีการกู้ยืมเงินที่ไม่เหมาะสม เช่น เลือกกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้นอกระบบซึ่งจัดเป็นแหล่งเงินกู้ระยะสั้น แต่นำเงินไปลงทุนซึ่งให้ผลตอบแทนในระยะยาว ด้านการมีภูมิคุ้มกัน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจต่ำ เนื่องจากมีรายได้น้อย และไม่แน่นอน มีเงินออมต่ำหรือไม่มีเลย ไม่มีแหล่งพึ่งพิงทางการเงินที่น่าเชื่อถือหรือมีการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านการมีความรู้ในการดำเนินชีวิตหรือประกอบอาชีพยังคงใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมเป็นหลัก ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตหรือคุณภาพงานน้อย นอกจากนี้ ยังไม่มีเวลาในการแสวงหาความรู้ หรือเข้ารับการอบรม และด้านการมีคุณธรรม พบว่า คนกลุ่มนี้ไม่มีวินัยทางการเงิน และขาดการวางแผนการใช้เงินที่ดีให้ถูกต้องเหมาะสมแบบจำลองการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ IDL – Model ได้เน้นไปที่มาตรการการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีหลักการที่จะทำให้การมีหนี้สินนอกระบบให้กลายเป็นหนี้ในระบบ และมาตรการป้องกันโดยมีหลักการที่จะไม่ทำให้เกิดหนี้ โดยจะเป็นแบบจำลองใน 3 ภาคส่วนคือ ภาคประชาชน ภาคชุมชน และภาครัฐบาลแบบจำลองการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ IDL – Model ในส่วนของภาคประชาชน ควรป้องกันการก่อหนี้โดยต้องส่งเสริมให้ประชาชนในทุกกลุ่มอายุมีการเรียนรู้วินัยทางการเงิน มีการวางแผนทางการเงิน จัดทำบัญชีรับ-จ่าย บัญชีครัวเรือน และต้องส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่ายเป็น แบบจำลองการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ IDL – Model ในส่วนภาคชุมชนนั้น มาตรการการป้องกันคือ การร่วมกันจัดตั้งแหล่งทุนหรือกองทุนของชุมชนเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนด้านการเงินยามฉุกเฉิน หรือจัดให้มีสวัสดิการในการดำรงชีพสำหรับคนในชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมการทำงานและการรวมกลุ่มอาชีพเดียวกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการต่อรอง แบบจำลองการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ IDL – Model ในส่วนภาครัฐ จะเน้นไปที่มาตรการการแก้ปัญหา และ มาตรการการป้องกัน โดยที่มาตรการการแก้ปัญหานั้นจะเป็นการที่จะแก้ปัญหาให้กับผู้มีหนี้นอกระบบให้ปรับเปลี่ยนหนี้นอกระบบให้กลายเป็นหนี้ในระบบโดยการที่จะดึงชุมชนเข้ามาร่วมกันช่วยแก้ปัญหาในรูปแบบของการตั้งกลุ่มการเงินขึ้นมาร่วมกันบริหารจัดการโดยการวิเคราะห์สภาพหนี้สินของคนในชุมชน เสาะหาแหล่งการเงินเพื่อนำเงินมาให้ผู้มีหนี้สินนอกระบบกู้ยืมไปชดใช้หนี้นอกระบบหรือก็คือการแปลงสภาพหนี้นอกระบบให้กลายเป็นหนี้ในระบบของกลุ่มการเงินที่ตั้งขึ้น จากนั้นจะเป็นการพัฒนาอาชีพให้กับผู้มีหนี้สินเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนมาตรการการป้องกันปัญหาหนี้นอกระบบจะเป็นการปลูกฝั่งแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเด็กๆเพื่อจะไม่ทำให้เกิดปัญหาหนี้ในอนาคต | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | หนี้นอกระบบ | en_US |
dc.subject | สมดุลภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | en_US |
dc.title | หนี้นอกระบบ: ปัญหาและแนวทางแก้ไขภายใต้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | en_US |
dc.title.alternative | Informal Debt: Problems and Policy Implication Under Sufficiency Economy | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.