Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67071
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิสิฐ ลี้อาธรรมen_US
dc.contributor.authorศศิเพ็ญ พวงสายใจen_US
dc.contributor.authorสุขุม พันธุ์ณรงค์en_US
dc.contributor.authorพิมลพรรณ บุญเสนาen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:06Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:06Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 1-43en_US
dc.identifier.issn0859-8479en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/72433/58314en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67071-
dc.descriptionวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อติดตามประเมินผลความยั่งยืน และเพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนในอดีตกว่า 368 กลุ่มที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยเข้าไปดำเนินการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลได้ จำนวน 206 กลุ่ม โดยเป็น กลุ่มที่ยังคงประกอบการอยู่ จำนวน 167 กลุ่ม (81.07 %) และเลิกการประกอบการไปแล้ว จำนวน 39 กลุ่ม (18.93 %) ในกลุ่มที่ยังคงประกอบการอยู่ ประเภทอาหาร พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 936,550 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยังคงประกอบการอยู่ คือ สินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย ได้รับการรับรอง และมีรสชาติอร่อย กลุ่มประเภทเครื่องดื่ม พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 1,495,714 บาทต่อปี สินค้าได้รับการรับรองจาก อย. ระดับมากที่สุด ไม่มีผลข้างเคียง รสชาติอร่อยหรือแตกต่างจากคู่แข่ง และใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปลอดภัย กลุ่มประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 944,600 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยังคงประกอบการอยู่ คือ สินค้ามีความประณีต สวยงาม มีความแข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานนานกว่าคู่แข่ง มีการออกแบบ รูปแบบสินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เฉพาะท้องถิ่น กลุ่มประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 1,445,600 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยังคงประกอบการอยู่ คือ สินค้ามีความประณีต สวยงาม มีความแข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานนานกว่าคู่แข่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ใช้สอยได้ดี กลุ่มประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 1,320,667 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยังคงประกอบการอยู่ คือ สินค้ามีความประณีต สวยงาม สินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เฉพาะท้องถิ่น แข็งแรง ทนทาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ใช้สอยได้ดี ส่วนด้านการบริหารจัดการ พบว่า ทุกลุ่ม กลุ่มที่ยังคงประกอบการอยู่ จะเป็นกลุ่มที่มีผู้นำที่ดีมีความเข้มแข็ง ทุกคนตั้งใจทำงาน มีการตั้งกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทำงานกลุ่ม และทุกคนยอมรับปฏิบัติตาม มีการจัดทำบัญชีการเงิน มีการปันผล มีเงินทุนหมุนเวียนและสะสมทุนอยู่เสมอ ส่วนแรงงานผู้ผลิตก็มีการพัฒนาฝีมือ ความรู้ความสามารถ มีแรงงานสนใจเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มเพิ่มมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน ด้านวัตถุดิบ อุปกรณ์ เทคโนโลยี แรงงาน และภูมิปัญญา พบว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถหาได้ในชุมชน อุปกรณ์เทคโนโลยีในการผลิตเหมาะสมกับการผลิต สามารถใช้งานได้ดี ใช้แรงงานในชุมชน และมีการสืบทอดภูมิปัญญา ด้านการตลาด กลุ่มมีรูปแบบสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาด มีแหล่งจำหน่าย มีช่องทางการตลาดหลายกลาย มีการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง การตั้งราคาก็มีความเหมาะสมเพื่อให้ได้กำไร สำหรับกลุ่มที่เลิกการประกอบการไปแล้ว ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง ส่วนใหญ่การยกเลิกกลุ่มในช่วงปี พ.ศ.2552, 2555 – 2556 ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มต้องยกเลิกไม่สามารถประกอบกิจการต่อได้ เนื่องมาจากด้านการตลาดเป็นสำคัญ คือ กลุ่มจำหน่ายสินค้าไม่ได้ ไม่มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ทำให้จำนวนสมาชิกกลุ่มลดลง ขาดแรงงานผู้ผลิต ขาดแรงงานที่มีฝีมือ สมาชิกกลุ่มแยกกันไปทำเป็นธุรกิจส่วนตัว บางกลุ่มมีสมาชิกที่มีอายุมาก สุขภาพไม่แข็งแรง ทำให้ไม่มีผู้สืบทอด ด้านวัตถุดิบ พบว่า ประสบปัญหาวัตถุดิบหายากและราคาแพง ผู้นำกลุ่มไม่มีเวลาดูแลกลุ่ม ออกไปตั้งกลุ่มใหม่ ทำให้ไม่มีแกนนำ จึงประสบภาวะขาดทุนและไม่สามารถประกอบการต่อได้en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความยั่งยืนen_US
dc.subjectกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนen_US
dc.subjectปัจจัยที่ทําให้กลุ่มประสบความสําเร็จศักยภาพสินค้าชุมชนen_US
dc.titleการประเมินความยั่งยืนกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนen_US
dc.title.alternativeSustainability Evaluation of Community Product Groupen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.