Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67056
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสายชล สัตยานุรักษ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T09:01:06Z-
dc.date.available2019-12-03T09:01:06Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 9,1 (ม.ค.-มิ.ย.2560) 8-58en_US
dc.identifier.issn0125-4138en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/64689/53063en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67056-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวารสารวิชาการทางกฎหมายซึ่งตีพิมพ์บทความวิชาการและบทความวิจัยจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดพิมพ์ราย 6 เดือน ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฏาคม – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractกระบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” เกิดขึ้นได้เนื่องจากวัฒนธรรมทางความคิด ที่สั่งสมมายาวนาน ภายใต้ระบบการปกครองแบบเผด็จการที่ชนชั้นกลาง ขาดอำนาจต่อรองและไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจจึงต้องการให้ “คนดี” มีอำนาจ และใช้ “คุณธรรม” ในการควบคุมผู้ปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายาม ถวายพระราชอำนาจให้สถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อ “พึ่งพระบารมี” ของพระองค์ ในการแก้ไขปัญหาเมื่อมีการใช้อำนาจในทางมิชอบ ทำให้ชนชั้นกลางต้องการ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”1 วัฒนธรรมความคิดทางการเมืองดังกล่าวข้างต้นสัมพันธ์กับการให้ ความหมายว่า “ราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย” “นักการเมือง เป็นคนเลวและไร้สมรรถภาพ” และ “พรรคการเมืองไทยยังอ่อนแอ” เมื่อเกิด ปัญหาผู้นำประเทศไม่เป็น “คนดี” จึงไม่อาจพึ่งพาระบบรัฐสภาได้ จำเป็นต้อง “พึ่งพระบารมี” ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระราชกรณียกิจต่างๆ และอิทธิพลของอุดมการณ์กษัตริย์นิยมแบบ “พ่อแห่งชาติ” ทำให้ชนชั้นกลางเชื่อมั่นว่าพระองค์ ทรงมีพระอัจฉริยภาพและความเมตตากรุณาอย่างสูงต่อราษฎร ทั้งนี้ การสร้าง และการผลิตซ้ำความหมายของ “การปกครองแบบไทย” และ “ประชาธิปไตยแบบ ไทย” ที่พัฒนามาสู่ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ทำให้บทบาททางการเมืองของพระมหากษัตริย์มีความชอบธรรม เมื่อถึงกลาง ทศวรรษ 2530 คนหลายกลุ่มแม้แต่นักวิชาการที่มีความคิดเสรีนิยมต่างก็ให้ ความสำคัญแก่พระมหากษัตริย์ในการแก้ไขวิกฤตทางการเมือง ซึ่งมีส่วนเสริมสร้าง “พระราชอำนาจนำ” ให้สูงส่งยิ่งขึ้น และทำให้คนทั้งหลายหวังพึ่ง “พระบารมี” มากยิ่งขึ้น เมื่อถึงปลายทศวรรษ 2540 มรดกวัฒนธรรมทางความคิดและการผลิตซ้ำความหมายหลายประการ รวมทั้งการสร้างความกลัวต่อ “ระบอบทักษิณ” โดยการ สร้างความหมายว่าเป็น “ทุนสามานย์” หรือ “นักการเมืองเลว” ที่จะทำลาย ความมั่นคงของ “ชาติไทย” และ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข” ได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเกิด “ตุลาการภิวัตน์” เพื่อให้ ตุลาการใช้อำนาจทางการเมืองแทนพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ชนชั้นกลาง ระดับล่างรับรู้กระบวนการดังกล่าวนี้ว่าเป็นการรักษาอำนาจของ “อำมาตย์” และ “สองมาตรฐาน” จึงเป็นการปะทะกันระหว่างวัฒนธรรมทางความคิดและ ความหมายสองแบบที่เป็นปัจจัยสำคัญของความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมือง สืบมาen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectตุลาการภิวัตน์en_US
dc.subjectวัฒนธรรมทางความคิดen_US
dc.titleมรดกทางประวัติศาสตร์และการบังเกิด "ตุลาการภิวัตน์" ในรัฐไทยen_US
dc.title.alternativeHistorical Legacy and the Construction of Judicial Activism in Thai Stateen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.