Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67011
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวีรนุช ทองงามen_US
dc.contributor.authorศิรินาถ ชีวะเกรียงไกรen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:56Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:56Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,2 (พ.ค.-ส.ค. 2562) 81-92en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_2_514.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67011-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่ากำลังแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินคอมโพสิตเก่าและเรซินคอมโพสิตใหม่ที่ทำการซ่อมแซมด้วยยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟกับการใช้ระบบสารยึดติดแบบดั้งเดิมทั้งก่อนและหลังการทำเทอร์โมไซคลิง วัสดุและวิธีการ: เตรียมชิ้นงานเรซินคอมโพสิตชนิดฟิลเทกแซด 350 เอกซ์ทีรูปร่างทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร สูง 2 มิลลิเมตร จำนวน 90 ชิ้น นำไปทำเทอร์โมไซคลิงจำนวน 5,000 รอบ ยึดชิ้นงานด้วยเรซินอะคริลิกชนิดบ่มตัวได้เองลงในท่อพีวีซี และนำไปขัดผิวหน้าของเรซินคอมโพสิตด้วยกระดาษทรายความละเอียด 320 กริต เตรียมผิวชิ้นงานเรซินคอมโพสิตทุกชิ้นด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 นาน 15 วินาทีสุ่มแบ่งชิ้นงานเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น (n=15) กลุ่ม SM และกลุ่ม SM+T ทาสารยึดติดสกอตช์บอนด์มัลทิเพอร์โพสพลัส กลุ่ม SiSM และกลุ่ม SiSM+T ทาไซเลนรีไลย์เอกซ์เซรามิกไพรเมอร์และทาสารยึดติดสกอตช์บอนด์มัลทิเพอร์โพสพลัสกลุ่ม SBU และกลุ่ม SBU+T ทาสารซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟ ฉายแสงทุกชิ้นงาน 20 วินาที อุดเรซินคอมโพสิตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร สูง 2 มิลลิเมตรบนผิวชิ้นงานที่เตรียมแล้ว ฉายแสง 40 วินาที แช่ชิ้นงานทั้งหมดในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำชิ้นงานกลุ่ม SM, SiSM และ SBU ไปทดสอบค่ากำลังแรงยึดเฉือนโดยใช้เครื่องทดสอบสากลชนิดอินสทรอนโดยไม่ผ่านการทำเทอร์โมไซคลิง นำชิ้นงานกลุ่ม SM+T, SiSM+T และ SBU+T ไปทดสอบค่ากำลังแรงยึดเฉือนหลังจากการทำเทอร์โมไซคลิง 5,000 รอบ นำค่ากำลังแรงยึดเฉือนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสถิติทดสอบทีตรวจสอบลักษณะความล้มเหลวที่เกิดขึ้นโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบหัวกลับ ผลการทดลอง: ค่ากำลังแรงยึดเฉือนหลังการยึดติดกับเรซินคอมโพสิต 24 ชั่วโมง กลุ่ม SBU (113.62+24.80MPa) มีค่ามากที่สุดเมื่อเทียบ กับกลุ่ม SM (63.92+17.82 MPa) และกลุ่ม SiSM (85.82+9.82 MPa) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่ากำลังแรงยึดเฉือนหลังการทำเทอร์โมไซคลิงในกลุ่ม SM+T (36.41+7.01 MPa) มีค่าน้อยกว่ากลุ่ม SM กลุ่ม SiSM+T (63.01+14.44 MPa) มีค่าน้อยกว่ากลุ่ม SiSM และกลุ่ม SBU+T (84.48+6.86 MPa) มีค่าน้อยกว่ากลุ่ม SBU อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลักษณะความล้มเหลวทั้งหมดในกลุ่ม SM, SM+T, SiSM และ SiSM+T พบการยึดติดล้มเหลว กลุ่ม SBU ทั้งหมดพบความเชื่อมแน่นล้มเหลว และกลุ่ม SBU+T พบความล้มเหลวทั้งสองรูปแบบ สรุปผล: เรซินคอมโพสิตที่ทำการซ่อมแซมโดยการใช้สารยึดติดซิงเกิลบอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟมีค่ากำลังแรงยึดเฉือนสูงกว่าการยึดติดด้วยสารยึดติดสกอตช์บอนด์มัลทิเพอร์โพสพลัส ทั้งในวิธีการที่ร่วมและไม่ร่วมกับการใช้ไซเลน และกำลังแรงยึดเฉือนมีค่าลดลงเมื่อผ่านการทำเทอร์โมไซคลิงen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟen_US
dc.subjectไซเลนen_US
dc.subjectการซ่อมแซมวัสดุเรซินคอมโพสิตen_US
dc.subjectค่าความแข็งแรงยึดเฉือนen_US
dc.subjectการทำเทอร์โมไซคลิงen_US
dc.titleผลของยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟและการทำเทอร์โมไซคลิงต่อค่าความแข็งแรงยึดเฉือนของการซ่อมแซมวัสดุเรซินคอมโพสิตen_US
dc.title.alternativeEffect of Universal Adhesive and Thermocycling on Shear Bond Strength of Resin Composite Repairen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.