Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67010
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณีรนุช กิตติวินิชนันท์en_US
dc.contributor.authorสิทธิกร คุณวโรตม์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:56Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:56Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,2 (พ.ค.-ส.ค. 2562) 65-80en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_2_522.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67010-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการเตรียมผิวเรซินคอมโพสิตด้วยขั้นตอนการเตรียมผิวทางกล และ/หรือทางเคมีต่อค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของการซ่อมแซมเรซินคอมโพสิตที่มีสภาวะความเสื่อม วิธีการวิจัย: เตรียมชิ้นทดสอบเรซินคอมโพสิต เคลียร์ฟิลเอพีเอ็กซ์อีเอสทูสีA1 รูปครึ่งนาฬิกาทราย จำนวน48 ชิ้น โดยมีพื้นที่ผิวในตำแหน่งส่วนคอดขนาด 1.5x8.0 มิลลิเมตร จากแบบหล่อโลหะแยกส่วน แบ่งชิ้นทดสอบออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ชิ้น กลุ่มที่ 1 เก็บในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มที่ 2-6 นำไปผ่านการจำลองการเสื่อมสภาพด้วยเครื่องเทอร์โมไซคลิงจำนวน 15,000 รอบ แล้วนำไปเก็บในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยเปลี่ยนน้ำกลั่นทุก 1 สัปดาห์จากนั้นชิ้นทดสอบทั้งหมดจะได้รับการเตรียมผิวด้วยวิธีต่างๆกัน ได้แก่กลุ่มที่1 (-SE) และกลุ่มที่2 (+SE) เตรียมผิวด้วยเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์เป็นกลุ่มควบคุมผลลบและบวก ตามลำดับ กลุ่มที่ 3 (+CoSE) โคเจ็ท และเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์กลุ่มที่ 4 (+CoSiB) โคเจ็ท ตามด้วยสารคู่ควบไซเลนซึ่งเตรียมขึ้นจากเคลียร์ฟิล พอร์ซเลนบอนด์ แอกทิเวเทอร์ผสมกับสารไพรเมอร์ของเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ในอัตราส่วน 1:1 ทาเป็นเวลา60 วินาทีและสารบอนด์ดิง กลุ่มที่ 5 (+HFSE) กรดไฮโดรฟลูออริก ร้อยละ 9.5 60 วินาทีและเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์และกลุ่มที่ 6 (+HFSiB)กรดไฮโดรฟลูออริก ร้อยละ 9.5 60 วินาทีตามด้วยสารคู่ควบไซเลน และสารบอนด์ดิง จากนั้นทำการอุดซ่อมด้วยเรซินคอมโพสิต เคลียร์ฟิลเอพีเอ็กซ์อีเอสทู สี A4 โดยใช้แบบหล่อโลหะแยกส่วน ได้ชิ้นทดสอบรูปนาฬิกาทราย เก็บชิ้นทดสอบในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และทำการตัดอีกครั้งเพื่อให้ได้พื้นที่ยึดติดขนาด 1.5x0.7 มิลลิเมตร จ านวน 5 ชิ้นต่อชิ้นทดสอบ ทำการทดสอบค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคด้วยเครื่องทดสอบวัสดุสากล ความเร็วของหัวกด 1 มม./นาที ทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบดันเนตที 3 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) ตรวจสอบลักษณะพื้นผิวเรซินคอมโพสิตที่ได้รับการเตรียมผิวด้วยวิธีต่างๆ และลักษณะรอยต่อระหว่างเรซินคอมโพสิตด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ผลการศึกษา: วิธีการเตรียมผิวและสภาวะความเสื่อมของเรซินคอมโพสิตส่งผลต่อค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคอย่างมีนัยสำคัญ การซ่อมเรซินคอมโพสิตอายุ24 ชั่วโมงให้ค่าสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่กลุ่มเรซินคอมโพสิตที่มีสภาวะความเสื่อมให้ค่าต่ำกว่า โดยพบว่ากลุ่ม +CoSiB และ +HFSE ให้ค่าสูงกว่าการเตรียมผิวด้วยวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนกลุ่ม +CoSE มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา: การเตรียมผิวด้วยวิธีกรดไฮโดรฟลูออริก ร้อยละ 9.5 เป็นเวลา 60 วินาทีร่วมกับเคลียร์ฟิลเอสอีบอนด์ และวิธีโคเจ็ทร่วมกับสารคู่ควบไซเลนและสารบอนด์ดิง ให้ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคในการซ่อมเรซินคอม-โพสิตที่มีสภาวะความเสื่อมสูงกว่าวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเรซินคอมโพสิตen_US
dc.subjectสารยึดติดระบบเซลฟ์เอตช์โคเจ็ทen_US
dc.subjectสารคู่ควบไซเลนen_US
dc.subjectกรดไฮโดรฟลูออริกen_US
dc.titleผลของวิธีการเตรียมผิวต่อค่าความแข็งแรงยึดติดแบบดึงระดับจุลภาคของการซ่อมวัสดุอุดเรซินคอมโพสิตที่มีสภาวะความเสื่อมen_US
dc.title.alternativeEffect of Surface Treatment Methods on Microtensile Bond Strength of Aged Resin Composite Repairen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.