Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67009
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธัญญรัตน์ วงศ์ใหญ่en_US
dc.contributor.authorวริศรา ศิริมหาราชen_US
dc.contributor.authorสิทธิชัย วนจันทรรักษ์en_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562) 135-145en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_3_533.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67009-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบหาปริมาณแคลเซียม ฟอสฟอรัส ฟลูออรีน และแมกนีเซียมในฟันน้ำนมของเด็กที่มีประสบการณ์การมีฟันผุแตกต่างกันโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด และสเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน วิธีการศึกษา: ฟันน้ำนมที่ถูกถอนจำนวน 30 ซี่ ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเท่ากันตามประสบการณ์การมีฟันผุต่ำ ปานกลาง และสูง ผิวฟันด้านเรียบที่ปราศจากรอยผุของฟันจะถูกใช้เป็นตัวแทนของฟันแต่ละซี่ในแต่ละกลุ่มฟันถูกตัดตามแนวยาว ทำความสะอาดผิวฟันที่ตัดด้วยการแช่ในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์เข้มข้น 5.25% เป็นเวลา 12 ชั่วโมง จากนั้นล้างด้วยเครื่องทำความสะอาดอัลตราโซนิกเป็นเวลา 10 นาที ปล่อยให้แห้งที่อุณหภูมิห้องนาน 3 วัน จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด โดยศึกษาเคลือบฟันและเนื้อฟันอย่างละ 2 ตำแหน่ง คือ นอก และใน วัดค่าร้อยละของอะตอมของธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส ฟลูออรีน และแมกนีเซียมโดยเทคนิคอีดีเอส นำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของธาตุทั้งสี่นำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (p≤0.05) ผลการศึกษา: ชั้นเคลือบฟันของกลุ่มที่มีประสบการณ์การมีฟันผุต่ำมีปริมาณของธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูงกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์การมีฟันผุปานกลาง และสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของปริมาณธาตุฟลูออรีน แมกนีเซียม และสัดส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสระหว่างทั้งสามกลุ่ม ในทางกลับกันพบว่าเคลือบฟันชั้นนอกมีปริมาณของธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และฟลูออรีนสูงกว่าเคลือบฟันชั้นใน เนื้อฟันชั้นนอกมีปริมาณธาตุฟลูออรีนสูงกว่าเนื้อฟันชั้นใน เป็นที่น่าแปลกใจที่เนื้อฟันชั้นในมีปริมาณธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูงกว่าเนื้อฟันชั้นนอก ส่วนปริมาณธาตุแมกนีเซียมจะเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าใกล้สู่ชั้นในของเนื้อฟัน บทสรุป:การศึกษานี้พบความเป็นไปได้ที่ความต้านทานต่อการผุของเคลือบฟัน ขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซียม และฟอสฟอรัส แต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฟลูออรีนหรือแมกนีเซียม อย่างไรก็ตามยังคงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectฟันน้ำนมen_US
dc.subjectองค์ประกอบธาตุในฟันen_US
dc.subjectประสบการณ์การมีฟันผุสเปคโตรสโคปีแบบกระจายพลังงาน (อีดีเอส)en_US
dc.titleปริมาณแร่ธาตุในฟันน้ำนมระหว่างกลุ่มที่มีประสบการณ์การมีฟันผุแตกต่างกัน การทดลองในห้องปฏิบัติการen_US
dc.title.alternativeMineral Comparisons of Primary Teeth Among Different Caries Experience Groups in vitroen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.