Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67002
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชนชล ไตรรัตนประดิษฐ์en_US
dc.contributor.authorมารศรี ชัยวรวิทย์กุลen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,2 (พ.ค.-ส.ค. 2562) 29-37en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_2_511.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67002-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความหนาของกระดูกด้านแก้มบริเวณสันกระดูกโหนกแก้มส่วนใต้ในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่มีการเจริญเติบโตอยู่ โดยใช้โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี วัสดุและวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีบริเวณสันกระดูกโหนกแก้มจำนวน 40 ภาพ จากผู้ป่วยไทยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้านเดียวก่อนเริ่มรักษาทางทันตกรรมจัดฟันจำนวน 20 ราย (อายุ 7-13 ปี) โดยค่าความหนาของกระดูกด้านแก้มบริเวณรากด้านแก้ม-ใกล้กลาง จุดกึ่งกลางระหว่างรากด้านแก้ม-ใกล้กลางและรากด้านแก้ม-ไกลกลาง ของฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่ง ที่ระดับความสูงแตกต่างกัน 5 ระดับ (4.8, 6.0, 7.2, 8.4 และ 9.6 มิลลิเมตร) จากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟันของฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่ง ไปทางปลายรากฟัน ถูกทำการวัด ผลการศึกษา: กระดูกด้านแก้มของด้านที่ไม่มีรอยแยกมีความหนาตั้งแต่ 2.23+1.25 ถึง 5.34+3.67มิลลิเมตร จากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟันไปยังปลายรากฟัน และกระดูกด้านแก้มของด้านที่มีรอยแยกมีความหนาตั้งแต่ 2.57+1.42 ถึง 6.53+3.40 มิลลิเมตร จากระยะคอฟันไปยังปลายรากฟัน โดยทั้งสองด้านจะมีความหนาของกระดูกบริเวณรากด้านแก้มไกลกลางมากกว่าบริเวณกึ่งกลางและบริเวณใกล้กลาง นอกจากนี้ค่าที่วัดได้ของด้านที่มีรอยแยกมีค่ามากกว่าด้านที่ไม่มีรอยแยกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงบางตำแหน่ง บทสรุป: การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าความหนาของกระดูกด้านแก้มบริเวณสันกระดูกโหนกแก้มส่วนใต้ของผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้านเดียวทั้งด้านที่ไม่มีรอยแยกและด้านที่มีรอยแยกจะมีความหนาเพิ่มขึ้นจากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟันของฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่งไปทางรากฟัน และเพิ่มขึ้นจากด้านใกล้กลางไปทางด้านไกลกลาง การศึกษานี้พบว่าตำแหน่งที่ปลอดภัยที่สุดคือบริเวณกึ่งกลางระหว่างรากด้านแก้ม-ใกล้กลางและรากด้านแก้ม-ไกลกลางที่ระดับ 6 ถึง 9.6 มิลลิเมตรจากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน อย่างไรก็ตามที่ตำแหน่งอื่น ๆ สามารถใช้ได้อย่างระมัดระวัง นอกจากนี้การวางหมุดฝังเกลียวขนาดเล็กทางด้านที่มีรอยแยกมีแนวโน้มที่จะปลอดภัยกว่าด้านไม่มีรอยแยกen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกระดูกด้านแก้มen_US
dc.subjectสันกระดูกโหนกแก้มส่วนใต้ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่en_US
dc.subjectโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีen_US
dc.titleความหนาของกระดูกด้านแก้มบริเวณสันกระดูกโหนกแก้มส่วนใต้ในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ไทยที่มีการเจริญเติบโตอยู่en_US
dc.title.alternativeBuccal Bone Thickness at Infrazygomatic Crest Site in Thai Growing Unilateral Cleft Lip and Palate Patientsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.