Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66998
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณฤดี ลิ้มปวงทิพย์en_US
dc.contributor.authorแมนสรวง อักษรนุกิจen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:55Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562) 103-112en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_3_530.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66998-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากหลังได้รับการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวและความสุข วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบไปข้างหน้าจากเหตุไปหาผลนี้มีผู้เข้าร่วมวิจัย 70 คนที่มารับการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ ได้แก่ ฟันเทียมทั้งปาก (CD) ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ (RPD) และฟันเทียมบางส่วนติดแน่น (FPD) ศึกษาผลลัพธ์สามด้านที่ประเมินโดยผู้ป่วยก่อนการรักษา (T0) และหลังรับการรักษา (T1) ได้แก่ 1) คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ซึ่งสัมภาษณ์ด้วยดัชนีผลกระทบจากสภาวะช่องปากต่อการใช้ชีวิตประจ าวัน 2) ประสิทธิภาพการบดเคี้ยว ประเมินด้วยแบบสอบถามการบริโภคอาหาร และ 3) ความสุข ประเมินด้วยมาตรวัดของลิเคิร์ตโดยมีจำนวนฟันที่เหลือ จำนวนฟันหลังคู่สบและชนิดฟันเทียมเป็นตัวแปรต้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิตินอนพาราเมตริกซ์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ทดสอบผลลัพธ์ที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มตัวแปรต้นภายในช่วงเวลาเดียวกันด้วยสถิติไคสแคว์และครัสคาล-วัลลิส ใช้สถิติแมคนีมาร์และวิลคอกซันทดสอบผลลัพธ์ที่แตกต่างกันระหว่างช่วงเวลาภายในกลุ่มตัวแปรต้นเดียวกัน จากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน OIDP การบริโภคอาหารและความสุขด้วยสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการศึกษา: ที่ T0 ร้อยละของการเกิดผลกระทบจากสภาวะช่องปากในผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีฟันหลัง <4 คู่สบ (80.6) หรือได้รับการรักษาด้วยฟันเทียมถอดได้(CD = 88.2, RPD = 72.2) มีค่ามากกว่าผู้ที่มีฟันหลัง ≥4 คู่สบ (58.8) หรือได้รับการรักษาด้วย FPD (47.1) คะแนน การบริโภคอาหาร (ค่าเฉลี่ย ±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) มีค่าน้อยกว่าในกลุ่มที่มีฟันหลัง <4 คู่สบ (23.7 ±4.4) หรือได้รับการรักษาด้วย CD (21.9 ±4.8) เมื่อเปรียบเทียบกับฟัน ≥4 คู่สบ (26.8 ±2.1) หรือได้รับการรักษาด้วย RPD หรือ FPD (26.3 ±2.8) เมื่อประเมินที่ T1 ร้อยละของผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีผลกระทบมีจำนวนลดลงจาก 70.0 เป็น 24.3 และผู้ที่มีความสุขมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.1 เป็น 94.3 ส่วนคะแนนการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีฟันหลัง <4 คู่สบที่ได้รับการรักษาด้วย RPD หรือ CD ผลลัพธ์ทั้งสามมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต บทสรุป: คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความสุขเพิ่มขึ้นหลังได้รับการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ ดัชนีผลกระทบจากสภาวะช่องปากต่อการใช้ชีวิตประจำวันมีความเหมาะสมในการใช้ประเมินลำดับความสำคัญและผลลัพธ์หลังการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์ส่วนแบบสอบถามการบริโภคอาหารเหมาะสมในการใช้ประเมินการรักษาด้วยฟันเทียมทั้งปากเท่านั้นen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแบบสอบถามการบริโภคอาหารen_US
dc.subjectความสุขen_US
dc.subjectประสิทธิภาพการบดเคี้ยวen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากen_US
dc.subjectฟันเทียมen_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากหลังการรักษาทางทันตกรรมประดิษฐ์: การศึกษาแบบไปข้างหน้าจากเหตุไปหาผลen_US
dc.title.alternativeChanges in Oral Health-related Quality of Life After Prosthetic Treatment: A Prospective Cohort Studyen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.