Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66971
Title: ระบาดวิทยาคุณลักษณะและปัจจัยทํานายโรคหลอดเลือดสมองแตก
Other Titles: Epidemiology: Characteristic and risk factors of hemorrhagic stroke
Authors: สุพรรณี เตรียมวิศิษฎ์
วิไลวรรณ จงรักษ์สัตย์
วนรักษ์ วัชรศักดิ์ิศิลป์
รุจี รัตนสเถียร
สังวาลย์ สายสุวรรณ
ศิริพร ใจวัง
ปิติพร ใจเย็น
Authors: สุพรรณี เตรียมวิศิษฎ์
วิไลวรรณ จงรักษ์สัตย์
วนรักษ์ วัชรศักดิ์ิศิลป์
รุจี รัตนสเถียร
สังวาลย์ สายสุวรรณ
ศิริพร ใจวัง
ปิติพร ใจเย็น
Keywords: คุณลักษณะ;ปัจจัยเสี่ยง;โรคหลอดเลือดสมองแตก
Issue Date: 2562
Publisher: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่เวชสาร 58,3 (มิถุนายน-กันยายน 2562), 159-170
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์คุณลักษณะและปัจจัยทํานายโรคหลอดเลือดสมองแตกของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงเรียนแพทย์ระดับตติยภูมิในภาคเหนือตอนบน วิธีการการศึกษา ครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตกที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลเป็นความถี่และร้อยละและการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกมีจํานวนทั้งหมด 647 รายคิดเป็นร้อยละ 18.1 จากจํานวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในช่วงเวลาที่ทําการศึกษา 3,580 รายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 56.9 มีอายุเฉลี่ย 56.2 ปีเป็นการรับจากการส่งต่อจากโรงพยาบาลอื่นๆร้อยละ 77.0 สิทธิบัตรในการรักษาเป็นบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 78.8 เมื่อจําแนกที่อยู่ของผู้ป่วยพบว่าอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ร้อยละ 62.3 ส่วนการวินิจฉัยพบว่าเป็นเลือดออกในสมอง (intracerebral hemorrhage) ถึงร้อยละ 62.0 มีค่าคะแนนกลาสโกว (Glasgow Coma Score/GCS) แรกรับอยู่ในช่วง 9-15 ร้อยละ 62.8 ปัจจัยเสี่ยง 5 อันดับแรก ได้แก่ ความดันโลหิตสูงภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (>200 มิลลิกรัม) การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการรับประทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงไม่สม่ําเสมอและหรือขาดยา ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกพบว่าปัจจัยทํานายโรคหลอดเลือดสมองแตกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติได้แก่ เพศชาย (p<.001, OR=2.9, 95% CI [2.1-4.2]), ความดันโลหิตสูง (p<.001, OR=3.9, 95% CI [2.4-6.2]), คอเลสเตอรอลในเลือดสูง (p<.05, OR=1.0 [0.9-1.0]) และการรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงไมสม่ําเสมอหรือหยุดยาเอง (p<.05, OR=1.8, 95% CI [1.1-3.4]). สรุป โรคหลอดเลือดสมองแตกพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2.9 เท่าปัจจัยทํานายโรคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชายความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง และรับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงไม่สม่ําเสมอหรือหยุดยาเอง การควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงและเน้นให้เข้าใจถึงโรคหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งมีอัตราการตายและมีพิการสูงจะช่วยป้องกันความเสี่ยงเบื้องต้น เชียงใหม่เวชสาร 2562;58(3):159-70.
Description: เชียงใหม่เวชสาร เป็นวารสารของคณะแพทยศาสตร์ มช. ตีพิมพ์เพผยแพร่บทความวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาพ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่ในวงกว้าง เป็นวารสารที่มี peer review ตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ ในเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/202553/141325
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66971
ISSN: 0125-5983
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.