Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66946
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอนุสรา พิศน้อยen_US
dc.contributor.authorอรวรรณ ฉัตรสีรุ้งen_US
dc.date.accessioned2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.available2019-12-03T08:56:54Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 35, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562), 461-473en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/216162/150730en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66946-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractข้าว (Oryza sativa L.) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่งของประเทศไทยและการใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวก็ได้มีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น การปนเปื้อนมลพิษในแหล่งน้ำ การเสื่อมโทรมของดิน และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ การใช้แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในการปลูกข้าวจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดปัญหาดังกล่าว ดังนั้นในการทดลองนี้จึงได้ทำการแยกแบคทีเรียจากดินรอบรากข้าว จากพื้นที่ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์จำนวน 4 พื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอแม่วาง 2 พื้นที่ อำเภอแม่แตง 1 พื้นที่ และอำเภอพร้าว 1 พื้นที่ ได้ไรโซแบคทีเรียจำนวน 56 ไอโซเลท ทำการคัดกรองเชื้อที่มีความสามารถตรึงไนโตรเจนและย่อยละลายฟอสเฟตเบื้องต้นเชิงคุณภาพบนอาหารแข็ง โดยคัดเลือกไอโซเลทที่มีความสามารถสูงได้ 13 ไอโซเลท ผลของการคัดกรองเชิงปริมาณในอาหารเหลวพบว่า ไอโซเลท RMW4NF1 มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนสูงที่สุด รองลงมาคือ RMT2NF4 (887.4 และ 822.9 นาโนโมล C2H4/หลอด/24 ชั่วโมง ตามลำดับ) และ RMW4NF1 สามารถละลายฟอสเฟตได้สูงสุดถึง 181.46 มิลลิกรัม P/ลิตร เมื่อทำการประเมินการผลิต indole-3-acetic acid (IAA) พบว่า RMW3NF4 สามารถผลิต IAA ได้สูงที่สุดรองลงมาคือ RMT2NF4 (34.93 และ 31.05 มิลลิกรัม IAA/ลิตร ตามลำดับ) จากศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชทั้งหมดที่ได้ประเมินจึงได้คัดเลือกไอโซเลทได้จำนวน 6 ไอโซเลท คือ RMW2Egg2, RMW2Egg8, RMW4Egg5, RMW4NF1, RMT2Egg2 และ RMT2NF4 มาทดสอบประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตและการดูดใช้ธาตุอาหารของต้นกล้าข้าว พบว่า การใช้ไรโซแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญของต้นกล้าข้าวและการดูดใช้ธาตุอาหารเกือบทุกไอโซเลทให้ค่าสูงกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ไอโซเลท RMT2NF4 ให้ค่าการดูดใช้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงกว่ากรรมวิธีควบคุม 214 และ 74 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นไอโซเลทนี้จึงมีศักยภาพสูงในการนำมาพัฒนาเป็นปุ๋ยชีวภาพสำหรับข้าวen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectข้าวen_US
dc.subjectดินรอบรากพืชen_US
dc.subjectแบคทีเรียตรึงไนโตรเจนen_US
dc.subjectแบคทีเรียย่อยละลายฟอสเฟตen_US
dc.titleการคัดกรองและการประเมินประสิทธิภาพของไรโซแบคทีเรียเพื่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวen_US
dc.title.alternativeScreening and Efficiency Assessment of Rhizobacteria for Growth Enhancementof Rice Seedlingsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.