Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66861
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.ภูริทัต อินยา-
dc.contributor.authorจิราธิวัฒน์ พงศ์นภารักษ์en_US
dc.date.accessioned2019-09-23T04:14:49Z-
dc.date.available2019-09-23T04:14:49Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66861-
dc.description.abstractThis independent study has purpose about studying on attitudes of Consumers in Amphoe Mueang Chiang Mai Toward Organic Egg. Samples in this study are 400 consumers with age older than 18 years old who used to buy eggs. The data gathered by questionnaires and processed with statistics in percentage, mean and frequency. Results of this study show that mostly consumers are female which has age in range 18 to 25 years old, graduated in bachelor degree, occupation in personal business, have salary between 10,001 – 25,000 THB per month and have status single. The samples divided into two groups: 1) consumers who never bought organic egg, 253 persons and 2) consumers who used to buy organic egg, 147 persons. Then, we found that the people who never bought organic egg generally have low knowledge level in organic egg, while the people who used to buy organic egg generally have high knowledge level. The consumers who never bought organic egg have average opinion to marketing mix in high level, can be sort as following: place, price, product and promotion, respectively. Meanwhile, the consumers who used to buy organic egg have average opinion to marketing mix in high level too and can be sort as following: product, place, price and promotion, respectively. From overall respondents, mostly are tending to buy organic egg, the major reason is about for the health of themself and people in their family but the major reason about not to buy the organic eggs is the difficulty to be found in market. They think the best channel to promote information of organic egg is as a banner or an advertisement in the store. They require buying in price range between 50-69 Baht and glad to buy at supermarket.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้บริโภคen_US
dc.subjectไข่ออร์แกนิคen_US
dc.titleทัศนคติของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่มีต่อไข่ออร์แกนิคen_US
dc.title.alternativeAttitudes of Consumers in Amphoe Mueang Chiang Mai Towards Organic Eggen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc658.8342-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashไข่ออร์แกนิค -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการตัดสินใจ -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.sourceว/ภน 658.8342 ว372ท-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อไข่ออร์แกนิคของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่อยู่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไปที่เคยซื้อไข่ไก่มาบริโภค จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ความถี่ (Frequency) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 18 – 25 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 – 25,000 บาท มีสถานภาพโสด โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่ไม่เคยซื้อ ไข่ออร์แกนิคจำนวน 253 คน 2) กลุ่มที่เคยซื้อไข่ออร์แกนิคจำนวน 147 คน พบว่ากลุ่มที่ไม่เคยซื้อ ไข่ออร์แกนิคมีระดับความรู้ความเข้าใจโดยรวมในระดับน้อย แต่ผู้ที่เคยซื้อไข่ออร์แกนิคมีระดับความรู้ความเข้าใจโดยรวมในระดับมาก และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยซื้อไข่ออร์แกนิค มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด มีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมาก เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือด้านการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์และ ด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยซื้อไข่ออร์แกนิค มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อไข่ออร์แกนิคมีค่าเฉลี่ยรวมในระดับมาก เรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านราคา และ ด้านการส่งเสริมการตลาด สำหรับด้านพฤติกรรมผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวม ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะซื้อ ไข่ออร์แกนิค มีเหตุผลในการบริโภคไข่ออร์แกนิคเพื่อสุขภาพของตนเองและครอบครัวมากที่สุด มีเหตุผลในการไม่บริโภคไข่ออร์แกนิคเพราะหาซื้อได้ยาก ผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวม คิดว่าช่องทางการรับรู้ข้อมูลไข่ออร์แกนิคได้มากที่สุด คือ ป้ายโฆษณาในร้านจำหน่าย มีความต้องการซื้อ ไข่ออร์แกนิคในราคา 50 – 69 บาท และยินดีที่จะเลือกซื้อไข่ออร์แกนิคที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.