Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66777
Title: การผลิตก๊าซชีวภาพด้วยกระบวนการหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับพืชน้ำ
Other Titles: Biogas Production by Co-digestion of Swiftlet Faeces with Aquatic Plants
Authors: โชติรัตน์ ศรีเกลื่อน"
ปนัดดา จะแจ้ง
ชัยสิทธิ์ ทองจู
จำเนียร ชมภู
วนิดา สืบสายพรหม
Authors: โชติรัตน์ ศรีเกลื่อน"
ปนัดดา จะแจ้ง
ชัยสิทธิ์ ทองจู
จำเนียร ชมภู
วนิดา สืบสายพรหม
Keywords: ก๊าซชีวภาพ;การหมักย่อยร่วม;ผักตบชวา;มูลนกแอ่นกินรัง;แหนแดง
Issue Date: 2562
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 35, 2 (พ.ค. 2562), 311-320
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับพืชน้ำ ด้วยการเติมและไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์จากมูลไก่ โดยวางแผนการทดลองแบบ 3x2 factorial in CRD ทำการทดลอง 5 ซ้ำ สิ่งทดลองมี 2 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยที่ 1 คือ การหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับพืชน้ำ ได้แก่ แหนแดง และผักตบชวา เปรียบเทียบกับการไม่ใส่พืชน้ำ (ชุดควบคุม) และปัจจัยที่ 2 คือ การเติมและไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์จากมูลไก่ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ การหมักย่อยมูลนกแอ่นกินรัง โดยไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T1) การหมักย่อยร่วมมูลนกแอ่นกินรังกับแหนแดง โดยไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T2) การหมักย่อยร่วมมูลนกแอ่นกินรังกับผักตบชวา โดยไม่เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T3) การหมักย่อยมูลนกแอ่นกินรัง ร่วมกับการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T4) การหมักย่อยร่วมมูลนกแอ่นกินรังกับแหนแดง ร่วมกับการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T5) และการหมักย่อยร่วมมูลนกแอ่นกินรังกับผักตบชวา ร่วมกับการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (T6) บันทึกข้อมูลปริมาณก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเพื่อคำนวณหาปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมในระบบ วิเคราะห์ปริมาณก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 40 วันหลังจากเริ่มระบบ นอกจากนี้วัดค่า เพื่อวัดค่าความเป็นกรดด่าง และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการกำจัด BOD, COD, TS และ TVS ในตัวอย่างน้ำก่อนเข้าและหลังออกจากระบบหมัก พบว่า ปัจจัยด้านการหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับผักตบชวา และปัจจัยด้านการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์จากมูลไก่ทำให้ผลผลิตก๊าซชีวภาพและปริมาณก๊าซมีเทนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อพิจารณารายกลุ่ม พบว่า การหมักย่อยร่วมของ T3, T5 และ T6 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพได้ดี ทำให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ เท่ากับ 61.00, 62.40 และ 75.60 มิลลิลิตรต่อปริมาตรเริ่มต้น 30 มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนการหมักย่อยร่วมของ T6 ทำให้ผลผลิตก๊าซมีเทนมากที่สุด เท่ากับ 67.87% สำหรับประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์ในระบบ พบว่า ประสิทธิภาพการกำจัด BOD สูงสุดใน T6 เท่ากับ 88.16% ในขณะที่ประสิทธิภาพการกำจัด COD สูงสุดใน T4, T5 และ T6 เท่ากับ 90.17, 81.59 และ 88.16% ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัด TS และ TVS สูงสุดใน T2 เท่ากับ 81.44 และ 82.79% ตามลำดับ ซึ่งมีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับทุกกลุ่มทดลอง ดังนั้นการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยกระบวนการหมักย่อยร่วมของมูลนกแอ่นกินรังกับพืชน้ำจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการจัดการของเสียที่เกิดจากบ้านนกแอ่นกินรัง เพื่อลดปริมาณของเสียและการสะสมก๊าซพิษภายในบ้านนก อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวนกแอ่นกินรัง ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/189750/132898
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66777
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.