Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66765
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธัญญา วิริยา"en_US
dc.contributor.authorศันสนีย์ จำจดen_US
dc.contributor.authorต่อนภา ผุสดีen_US
dc.date.accessioned2019-09-17T08:55:03Z-
dc.date.available2019-09-17T08:55:03Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 35, 2 (พ.ค. 2562), 193-204en_US
dc.identifier.issn0857-0842en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/189071/132746en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66765-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1en_US
dc.description.abstractข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่สูงเป็นแหล่งพันธุกรรมที่มีเอกลักษณ์และมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ นับเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สำคัญในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวทั้งในปัจจุบันและอนาคต การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงสร้างและความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองที่สูงในจังหวัดเชียงรายด้วยเครื่องหมายโมเลกุล microsatellite จำนวน 12 ตำแหน่ง รวมถึงบันทึก 23 ลักษณะสัณฐานของข้าวพื้นเมืองที่สูงในจังหวัดเชียงรายทั้งหมด 19 ประชากร ที่เก็บจากเกษตรกร 19 ราย จากพื้นที่ 3 ระดับความสูง ได้แก่ พื้นที่สูงน้อยกว่า 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (low) พื้นที่สูงปานกลางตั้งแต่ 500-1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (medium) และพื้นที่สูงกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (high) จากผลการวิจัยพบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ระดับความสูงน้อยกว่า 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีความหลากหลายทั้งในระดับสัณฐาน และระดับโมเลกุลมากกว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ความสูงระดับปานกลางตั้งแต่ 500-1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และพื้นที่สูงกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างประชากรพบว่าที่ K=2 ประชากรข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มตามชนิดย่อย ได้แก่ indica และ tropical japonica ในขณะที่ K=4 ประชากรข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามชนิดย่อยและระดับความสูง โครงสร้างของข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ศึกษาในครั้งนี้เป็นผลมาจากการจัดการของเกษตรกรและการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมท้องถิ่น การทำความเข้าใจในโครงสร้างทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพันธุ์พื้นเมืองสามารถใช้เป็นแนวทางการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองในสภาพท้องถิ่นนอกสภาพท้องถิ่น และยังนำแหล่งพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์ ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่สูงen_US
dc.subjectความหลากหลายทางพันธุกรรมen_US
dc.subjectโครงสร้างประชากรen_US
dc.subjectการปรับตัวต่อสภาพท้องถิ่นen_US
dc.titleโครงสร้างประชากรและความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่สูงในจังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativePopulation Structure and Genetic Diversity of Highland Rice Landraces in Chiang Rai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.