Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66762
Title: การละลายฟอสเฟตและกลไกลดความเป็นพิษของแบคทีเรียต้านทานอาร์ซินิก
Other Titles: Phosphate Solubilization and Detoxification Mechanism of Arsenic-resistant Bacteria
Authors: ยุพา จอมแก้ว"
อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง
Authors: ยุพา จอมแก้ว"
อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง
Keywords: แบคทีเรียต้านทานอาร์ซินิก;กลไกลดความเป็นพิษ;การละลายฟอสเฟต;การเปลี่ยนแปลงค่า pH
Issue Date: 2562
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 35, 2 (พ.ค. 2562), 227-238
Abstract: อาร์ซินิกซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็น “ราชาแห่งสารพิษ” พบว่า มีการปนเปื้อนในดินที่ใช้ทำการเกษตรในเขตภาคเหนือ ของประเทศไทย อย่างแพร่หลายมากกว่าโลหะหนักชนิดอื่น ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน จุลินทรีย์หลายชนิดเปลี่ยนรูปอาร์ซินิกให้อยู่ในรูปที่เป็นพิษน้อยลงซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการต้านทาน ในการทดลองครั้งนี้ ได้ทำการประเมินความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพีเอช (pH) และ การละลายฟอสเฟต ภายใต้ความเข้มข้นของอาร์ซิไนท์หลายระดับ ของเชื้อคัดเลือก 5 ไอโซเลท คือ BAs7, BAs8, BAs11, BAs19 และ BAs29 ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า แต่ละไอโซเลทสามารถเจริญได้ในอาหารที่ผสมอาร์ซิไนท์ก็ต่อเมื่อเชื้อนั้นสามารถเพิ่มค่า pH ของอาหารให้เป็นด่างมากขึ้น (ประมาณ ≥ 5.0-6.0) แสดงให้เห็นถึงการปลดปล่อยสารประกอบที่เป็นด่างเพื่อเป็นกลไกลดความเป็นพิษ ความสามารถในการละลายฟอสเฟตของแต่ละไอโซเลทเพิ่มขึ้นเมื่อสัมผัสกับอาร์ซิไนท์ที่มีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นซึ่งแสดงถึงการดูดใช้อาร์ซินิกที่ลดลงจึงทำให้ความต้านทานสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการละลายฟอสเฟตลดลงอย่างชัดเจนที่ความเข้มข้นวิกฤตของอาร์ซิไนท์ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละไอโซเลท สำหรับการทดลองนี้ ความเข้มข้นวิกฤตที่ทำให้ความสามารถในการละลายฟอสเฟตลดลงอย่างเด่นชัดของไอโซเลท BAs7, BAs8, BAs11, BAs19 และ BAs29 คือ 50, 100, 50, 100 และ 100 mg Na-As(III) ตามลำดับ ผลการทดลองที่สำคัญในครั้งนี้คือ กลไกการลดความเป็นพิษสองกลไก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงค่าของ pH ให้มีสภาพเป็นด่าง และ การเพิ่มความสามารถในการละลายฟอสเฟตของแบคทีเรียต้านทานอาร์ซินิก
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/189364/132751
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66762
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.