Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66539
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorSaowaree Chaiwanen_US
dc.contributor.authorWasan Panyagaewen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:30Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:30Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 31, 1 (ม.ค.-มิ.ย 2562), 10-45en_US
dc.identifier.issn2672-9563en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/187706/139385en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66539-
dc.descriptionวารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 มีบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ที่ทำงานร่วมกันทั้งที่มาจากคณาจารย์ในคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์นักวิชาการภายนอก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านสังคมศาสตร์ของประเทศไทย วารสารสังคมศาสตร์ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อเผยแพร่บทความวิชาการ หรืองานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านมานุษยวิทยา การศึกษาการพัฒนาทางด้านภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา และสตรีศึกษา ที่มีคุณภาพสู่สังคมวงกว้าง ต่อมาในปี 2561 วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มจัดทำวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online)en_US
dc.description.abstractในสังคมไทยคนกับช้างอาศัยใช้ชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กันมาช้านาน บางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเลี้ยงช้างเพื่อใช้งาน โดยเฉพาะในชุมชนคนเลี้ยงช้าง พวกเขามีความรู้ทักษะในการจับช้างป่า เลี้ยงดูช้าง และฝึกช้างป่าเหล่านั้นให้เชื่องเพื่อขายหรือใช้งาน และพวกเขามีพิธีกรรม ความเชื่อซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างคนกับช้าง บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาจากโครงการวิจัย วิถีการดำรงชีพของควาญช้างไทยในบริบทของการท่องเที่ยว ดำเนินโครงการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม 2560 – เมษายน 2561 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของการศึกษาในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทยจำนวน 6 จังหวัดคือ ชลบุรี ภูเก็ต อยุธยา กาญจนบุรี สุรินทร์ และเชียงใหม่ บทความจะชี้ให้เห็นว่า ควาญช้างส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่ในปางช้างแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของช้าง แต่ก็ยังมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมจากชุมชนคนเลี้ยงช้าง มีประสบการณ์ผูกพันกับช้าง หรือเคยเลี้ยงช้างมาก่อน ขณะเดียวกันก็มีควาญช้างกลุ่มใหม่ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการเลี้ยงช้างมาก่อนที่เข้าสู่อาชีพควาญช้าง โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มผู้อพยพข้ามชาติ ควาญช้างทั้งสองกลุ่มมีระดับการศึกษาไม่สูงนัก อย่างไรก็ตามการทำงานของควาญช้างต้องอาศัยทักษะ ความรู้ที่สั่งสมจากการปฏิบัติ ประสบการณ์การทำงาน ความผูกพัน และความรักที่มีต่อช้าง การขยายตัวของธุรกิจปางช้างที่ใช้ช้างเพื่อการท่องเที่ยว มีส่วนเกี่ยวพันไปกับ การที่ปัจจุบันวิถีชีวิตของควาญช้างได้กลายมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องอพยพมีชีวิตเร่ร่อนในโลกสมัยใหม่ พวกเขาต้องละทิ้งถิ่นฐานไปตามเส้นทางของธุรกิจปางช้าง ทั้งในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ เช่น พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และต่างแดนไกลen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectควาญช้างen_US
dc.subjectปางช้างen_US
dc.subjectเมืองท่องเที่ยวen_US
dc.subjectชีวิตเร่ร่อนสมัยใหม่en_US
dc.titleคน/ช้าง/การเคลื่อนย้าย และชีวิตเร่ร่อนในโลกสมัยใหม่en_US
dc.title.alternativeHuman/Elephant/Mobility and Nomadic Life in a Modern Worlden_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.