Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66475
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกฤช สิทธิวางค์กูลen_US
dc.contributor.authorวิมลิน เหล่าศิริถาวรen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:29Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:29Z-
dc.date.issued2560en_US
dc.identifier.citationวารสารวิศวกรรมศาสตร์ 24, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560), 76-87en_US
dc.identifier.issn2672-9695en_US
dc.identifier.urihttp://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/24_2/08.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66475-
dc.descriptionวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปีen_US
dc.description.abstractศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำหน้าที่ส่งเสริมการปลูกพืชและพัฒนาอาชีพเกษตรกร โดยมีพืชหลักที่สร้างรายได้ให้กับโรงคัดบรรจุฯ หนองหอยคือผักกาดหอม ห่อผักกาดหางหงส์ผักกาดขาวปลีและกะหล่ำปลีทั้งในแบบผักบรรจุถุง และผักไม่บรรจุถุง ซึ่งจากการดำเนินงานของ โรงคัดบรรจุฯ ได้มีการนำวิธีคำนวณต้นทุนแบบต้นทุนฐานกิจกรรมแทนต้นทุนบัญชีแบบเดิมทำให้ทราบถึงต้นทุนที่ แท้จริงที่เกิดขึ้นและกระบวนการที่ทำให้เกิดต้นทุนสูง แต่เนื่องจากในทุ ๆ วันจะเกษตรกรป้อนผักให้โรงคัดบรรจุฯ อยู่ตลอดเวลาทำให้ไม่สามารถหยุดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อทำการปรับปรุงกระบวนการทำงานได้งานวิจัยนี้จึงได้อาศัยวิธีการจำลองสถานการณ์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์และหาแนวทางในการลดต้นทุนที่เกิดขึ้น โดยผลการวิเคราะห์หาจำนวนพนักงาน ค่าการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเวลารอเฉลี่ยที่ได้จากการใช้แบบจำลองสถานการณ์พบว่ากรณีบรรจุถุงสามารถทำการลดพนักงานบรรจุถุงจากเดิม 7 คน เหลือเป็น 2 คน มีผลให้ค่าการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 18.66 เป็นร้อยละ 60.00 และสามารถรวมกิจกรรมตัดแต่งและกิจกรรมเตรียมวัตถุดิบเข้าด้วยกันทำให้มีพนักงานรวมกัน เหลือ 3 คน (จากเดิม 8 คน) มีผลให้ค่าการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 14.07 เป็น 55.70 สำหรับกรณีไม่บรรจุถุงสามารถรวมกิจกรรมตัดแต่งและกิจกรรมเตรียมวัตถุดิบเข้าด้วยกันทำให้มีพนักงานรวมกันเหลือ 4 คน (จากเดิม 8 คน) ทำให้มีค่าการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 28.82 เป็นร้อยละ 44.50en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปรับปรุงประสิทธิภาพต้นทุนโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแปรรูปผักโดยอาศัยแบบจำลองสถานการณ์en_US
dc.title.alternativeImproving Logistics Cost in Vegetable Process Industry by Using Simulationen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.