Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66420
Title: การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตโฟมกลาสจากเศษแก้วสีอำพัน
Other Titles: Education Factors Suitable for The Production of Foam Glass Foam Amber Glass Splinter
Authors: บัญญัติ พันธ์ประสิทธิ์เวช
ปฏิพัทธ์ หงษ์สุวรรณ
Authors: บัญญัติ พันธ์ประสิทธิ์เวช
ปฏิพัทธ์ หงษ์สุวรรณ
Keywords: โฟมกลาส;การทดลองแฟกทอเรียล
Issue Date: 2561
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ 25, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561), 102-112
Abstract: การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษากระบวนการผลิตโฟมกลาส ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการพองตัวของโฟมกลาสซึ่งทำการทดสอบสาร 2 ชนิด คือโพแทสเซียมคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนตที่เวลาและ อุณหภูมิเดียวกัน เพื่อหาชนิดของสารที่ดีที่สุดในการฟองตัวโดยการออกแบบการทดลองโดยใช้การทดลองแฟคทอเรียลเต็มรูป ในขั้นตอนการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือการทดลองเบื้องต้น เพื่อหาขนาดของผงแก้วที่เหมาะสม และการทดลองเพื่อหาปัจจัยและระดับปัจจัยที่เหมาะสมในการผลิตโฟมกลาสด้วยเทคนิคพื้นผิวตอบสนอง ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องมี ด้วยกัน 3 ปัจจัยคือ สูตรที่ใช้ในการผลิตโฟมกลาส เวลาในการแช่ ณ อุณหภูมินั้นๆ และอุณหภูมิในการเผาโฟมกลาส จาก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Minitab ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าขนาดของผงแก้วที่ เหมาะสมคือน้อยกว่า 75 ไมครอน สูตรที่ใช้ในการผลิตโฟมกลาสต้องมีส่วนผสมของโพแทสเซียสคาร์บอเนต เพราะ โพแทสเซียสคาร์บอเนตจะสลายตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่าโซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งทำให้มีการพองตัวได้ดีกว่าการใช้โซเดียม คาร์บอเนต อุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการเผาโฟมกลาสที่เหมาะสมคืออุณหภูมิที่ 840 องศาเซลเซียส และใช้เวลาในการแช่ 20 นาที
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี
URI: http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/25_3/08.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66420
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.