Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66377
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฐาปกรณ์ เครือระยาen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:27Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจิตรศิลป์ 10, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 157-182en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/122497/141832en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66377-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractเครื่องเขินเป็นงานศิลปกรรมอีกอย่างหนึ่งของล้านนาและเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาในอดีตเป็นอย่างมาก จนอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและแสดงถึงคุณลักษณะของชาวล้านนาได้เป็นอย่างดี ผลการศึกษาและรวบรวมรูปแบบลวดลายขูดโบราณของเครื่องเขิน บ้านนันทาราม เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูผลิตภัณฑ์เครื่องเขินจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเครื่องเขินเชียงใหม่หรือเครื่องเขินนันทาราม เป็นงานหัตถกรรมที่มีโครงสร้างเป็นไม้ไผ่สานจนได้รูปทรงตามความต้องการ ทารักสมุกแล้วขัดก็จะได้รูปภาชนะที่ค่อนข้างเรียบเกลี้ยงบาง การตกแต่งเครื่องเขินชนิดนี้นิยมการขูดขีดลวดลายประดับ ภาษาพื้นถิ่นว่า ฮายลาย ฮายดอก ใช้เหล็กปลายแหลมขูดลงไปบนผิวของภาชนะที่ทาด้วยยางรัก ปัจจุบันการผลิตเครื่องเขินแบบนันทารามโดยใช้เทคนิคและวัสดุดั้งเดิมเหลือเพียงแห่งเดียว ดูเหมือนว่ากำลังจะสิ้นสุดลง ถ้ายังไม่ชี้ให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมด้านนี้ เนื่องด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องของวัตถุดิบคือยางรักที่หาได้ยาก ชาดหรือหางมีราคาแพง เป็นราคาต้นทุนการผลิตที่แพงจนชาวบ้านไม่สามารถหาวัตถุดิบเหล่านี้มาสร้างสรรค์ผลิตงานได้ รวมไปถึงรูปแบบลวดลายเดิมๆ และบุคลากร (ช่าง) ท้องถิ่นที่ขาดช่วงสืบทอดองค์ความรู้เดิม เหลือเพียงการผลิตเพื่อการตลาด การท่องเที่ยว เป็นของที่ระลึกราคาถูกแต่ขาดคุณค่าและคุณภาพ การฮายดอกทำกันอย่างง่ายๆ ใช้สีฝุ่น สีน้ำมัน และสีสะท้อนแสงแทนชาด ไม่เคลือบยางรัก ลวดลายสีสันจึงมักจะหลุดหายไปอย่างรวดเร็ว จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงได้สำรวจข้อมูลและฐานข้อมูลเชิงลึกของรูปแบบศิลปกรรม ศึกษากรรมวิธี เทคนิค กระบวนการในการทำเครื่องเขินแบบโบราณ (ฮายลาย) ของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าการทำงานหัตถกรรมเครื่องเขินมีขั้นตอนการผลิตที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและความชำนาญมาก รวมทั้งยังต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ผ่านกระบวนการต่างๆ กว่าจะได้ชิ้นงานแต่ละชิ้นต้องอาศัยระยะเวลาหลายเดือน ขั้นตอนสำคัญในการผลิตที่สำคัญ 3 กระบวนการสำคัญ คือ (1) ขั้นตอนการขึ้นรูปโครง (2) ขั้นตอนการทายางรัก (3) ขั้นตอนการขูดลาย นอกจากนี้ ยังได้สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานคลังข้อมูลมรดกทางภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่จากเครื่องเขินโบราณกว่า 90 ชิ้น คัดเลือกเอาชิ้นที่มีลายงดงามและเป็นตัวอย่างในการศึกษา 57 ชิ้น ได้แก่ ขันหมาก 16 ใบ ขันดอก 3 ใบ ขันโอ 3 ใบ แอบหมาก 7 ใบ ขันน้ำพานรอง 3 ใบ ชุดสำรับ 1 ชุด หีบหมาก 1 ใบ ซองบุหรี่ 1 ใบ กระเป๋า 6 ใบ แก้วน้ำ 1 ใบ ก๊อกควบน้ำ (ขันน้ำเล็ก) 1 ใบ น้ำต้น คนโท 2 ใบ ถาด 5 ใบ อ่างล้างหน้า 2 ใบ กระโถน 3 ใบ โต๊ะกลม 1 ตัว กลองแอว 1 ใบ จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง จนสามารถจำแนกลวดลายขูดโบราณ แบ่งหน้าที่ของลายได้ 2 ส่วน คือ ลายหลักและลายรอง ลายหลักทำหน้าที่ตกแต่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของเครื่องเขิน อยู่ในตำแหน่งที่เห็นชัดบริเวณพื้นที่หลัก ขูดลวดลายในกลุ่มลายดอกเครือ ไม่ว่าจะเป็นลายดอกกุหลาบ ลายบานใบ ลายจี๋หุบ เป็นต้น ส่วนลายรองทำหน้าที่เสริมให้ชิ้นงานสมบูรณ์มากขึ้น เช่น ในส่วนของก้นภาชนะก็มักจะใช้กลุ่มลายดอกลอยลักษณะดอกต่างๆ ทั้งดอกมะเขือ ดอกแก้ว ดอกหญ้า ดอกรักเร่ เป็นต้น ส่วนพื้นที่ขอบภาชนะ ก็จะใช้กลุ่มลายดอกเรียง เช่น ลายกาบบัว ลายกาบบัวต่างเงาะ ลายเส้นไหม ลายจี๋หุบต่อดอกเป็นต้น ผลจากการศึกษาสามารถนำไปเผยแพร่องค์ความรู้และถ่ายทอดให้สาธารณะชนทั่วไปเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญ รวมไปถึงรวบรวมลวดลายโบราณจากเครื่องเขินยุคเก่า กลับไปให้ช่างภายในชุมชนเรียนรู้และกลับมาขูดลายแบบเดิม พร้อมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์ต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม นอกจากนี้ ยังต้องจัดหาแนวทางปลูกจิตสำนึกของคนในชุมชนและเยาวชนรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงคุณค่าและการอนุรักษ์ดูแลรักษา หวงแหนมรดกทางภูมิปัญญาในชุมชนของตนเอง รวมถึงการอนุรักษ์ รักษางานหัตถกรรมเครื่องเขินบ้านนันทาราม อันเป็นอัตลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ให้คงอยู่ต่อไปในอนาคตen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectLacquer Nataramen_US
dc.subjectSculpture, Scrapingen_US
dc.subjectเครื่องเขินนันทารามen_US
dc.subjectลายขูดen_US
dc.subjectฮายลายฮายดอกen_US
dc.titleฮายลาย ฮายดอก เทคนิคงานเครื่องเขินบ้านนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeHai Lai Hai Dok techniques of Nantaram lacquerware, Chiang Mai Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.