Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66363
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกรกฎ ใจรักษ์en_US
dc.contributor.authorรสลิน กาสต์en_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:26Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:26Z-
dc.date.issued2561en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจิตรศิลป์ 9, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561), 145-189en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/100515/78161en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66363-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ม.ค. – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ประเภทของเรื่องที่จะตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractผลงานศิลปะ โรงมหรสพแห่งการจับจ้อง นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับสังคม สมัยใหม่ที่ได้นำ การจับจ้อง มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมพฤติกรรม ของคนให้อยู่ในกฎระเบียบร่วมกัน ในสังคมปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่พึงพอใจที่จะ ดำเนินชีวิตตามระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูก พิพากษา ด้วยสายตา เงื่อนไขสำคัญของการที่จะมีชีวิตที่ปกติสุข คือ การประพฤติตน ให้เหมาะสมกับกาละและเทศะ เพราะความรู้สึกว่ากำลังถูก จับจ้องอยู่ ส่งผลต่อการกำหนดตัวตน การแสดงอากัปกิริยาท่าทางทุกรูปแบบที่แสดงออก ในพื้นที่สาธารณะล้วนแล้วแต่ไม่ได้เป็นไปอย่างอิสระเสรี ด้วยเหตุนี้ จึงต้องการ นำเสนอประเด็นดังกล่าวในรูปแบบผลงานศิลปกรรมซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะแอนิเมชั่นที่นำเสนอสารสาระประเด็น การจับจ้อง โดยค้นหาการทำงานร่วมกันระหว่างผลงานแอนิเมชั่นกับผู้ชม และวิธีการนำเสนอที่ผู้ชมรับรู้ได้ถึงการถูกจับจ้องด้วยตนเอง สร้างความ ตระหนักถึงการถูกจำกัดเสรีภาพของการแสดงออกในพื้นที่ทางสังคม ผลงานสร้างสรรค์ครั้งนี้ได้กำหนดให้มี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 แอนิเมชั่นเรื่องสั้น นำ เสนอประเด็นการจับจ้อง ทำงานร่วมกันกับผลงานชุดที่ 2 เป็นศิลปะ อินสตอลเลชั่นเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อผู้ชม (interactive installation art) กลวิธี ของศิลปะทั้ง 2 ชุด ปลุกเร้าให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์กับผลงานแอนิเมชั่น และ ภาพถ่ายของผู้ชม สร้างประสบการณ์ส่วนบุคคลของการได้จับจ้องและถูก จับจ้องในพื้นที่ เป็นการสร้างพื้นที่ของการจับจ้องให้ผู้ชมเกิดการพิจารณา ครุ่นคิดในประเด็นของการจับจ้อง ซึ่งทำให้ผู้ชมเข้าใจอำนาจ การจับจ้อง ในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างชัดเจน ผลงานได้สื่อสารสะท้อนเนื้อหาตรงตาม แนวคิดและวัตถุประสงค์ ส่วนการประเมินผลการรับรู้และทัศนวิจารณ์จาก ผู้ชม ทำให้เกิดบทสนทนาระหว่างผู้เขียนและผู้ชม โต้ตอบทรรศนะทางความคิด เกิดมุมมองในการรับชมที่ให้อิสระ ในการรับรู้ถึงการถูกจับจ้องที่เปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเทศะและเหตุปัจจัยส่วนตัวของผู้ชม การทำงานของมิติแสงสี ที่ฉายภาพขึ้นใหม่ตามแต่ลักษณะของผู้ชมนั้น ถือเป็นสุนทรียะใหม่ที่มี ชีวิตชีวาร่วมไปกับปฏิสัมพันธ์ของผู้ชม สามารถสะท้อนให้เห็นว่าผลงานได้ ทำให้เกิดการทบทวนหรือตั้งคำถามเกี่ยวกับ ตัวตน และ ความอิสรเสรี ในที่สาธารณะของผู้ชมได้อย่างดียิ่งen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการจับจ้องen_US
dc.subjectแอนิเมชั่นen_US
dc.subjectศิลปะเชิงปฏิสัมพันธ์en_US
dc.subjectศิลปะอินสตอลเลชั่นen_US
dc.subjectSurveillanceen_US
dc.subjectAnimationen_US
dc.subjectInteractive arten_US
dc.subjectInstallation arten_US
dc.titleโรงมหรสพแห่งการจับจ้องen_US
dc.title.alternativeTheater of Surveillance.en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.