Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพชร ถือแก้วen_US
dc.contributor.authorรุจ ศิริสัญลักษณ์en_US
dc.contributor.authorอาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจen_US
dc.contributor.authorจิรวัฒน์ พัสระen_US
dc.date.accessioned2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.available2019-08-21T09:18:25Z-
dc.date.issued2562en_US
dc.identifier.citationวารสารเกษตร 35, 1 (ม.ค. 2562), 147-157en_US
dc.identifier.issn0857-0841en_US
dc.identifier.urihttp://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00141_C01129.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66307-
dc.descriptionวารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (ม.ค. พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน 2) การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามภาระงานจริงกับภาระงานที่กำหนดไว้ในลักษณะงานของกรมส่งเสริมการเกษตร และ 3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจำนวน 238 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน พบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรร้อยละ 52.1 ปฏิบัติงานในพื้นที่ราบ ร้อยละ 60.5 รับผิดชอบงาน 1 ตำบล ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ 1-5 ปี และรับผิดชอบครัวเรือนเกษตรกรจำนวน 501-1,000 ครัวเรือน ในด้านการปฏิบัติงาน พบว่า โดยภาพรวมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (xˉ = 3.78) ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานในด้านการติดตามประเมินผลการส่งเสริมการเกษตร วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ของเกษตรกรและชุมชน ให้บริการส่งเสริมอาชีพและดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ดำเนินงานตามแผนงานโครงการส่งเสริมการเกษตร เมื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อคำบรรยายลักษณะงาน พบว่า ภาพรวมเจ้าหน้าที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (xˉ = 3.92) โดยเห็นด้วยว่าหน่วยงานให้ความสำคัญกับคำบรรยายลักษณะงาน มีความเข้าใจในคำบรรยายลักษณะงาน การปฏิบัติงานตามคำบรรยายลักษณะงาน ประโยชน์ของคำบรรยายลักษณะงานต่อการปฏิบัติงาน และข้อเสนอแนะในการนำไปปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานคือ การปฏิบัติงานนอกเหนือจากงานหลักมากเกินไปจนไม่มีเวลาปฏิบัติงานหลัก และงานที่ได้รับมอบหมายมีความหลากหลายมากเกินไป เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเสนอว่าควรมอบหมายงานให้ตรงตามคำบรรยายลักษณะงานและลดงานฝากจากหน่วยงานอื่นให้น้อยลงเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (Agricultural extension agents)en_US
dc.subjectการปฏิบัติงาน (working)en_US
dc.subjectคำบรรยายลักษณะงาน (Job description)en_US
dc.titleการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับภาระงานที่กำหนดไว้ของเจ้าหน้าที่ ส่งเสริมการเกษตรในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeComparison Between Job Performance and Job Description of Agricultural Extension Agents in the Upper North of Thailanden_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.