Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66305
Title: ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บริเวณรอบรากผักกระเฉด ที่ผลิตสารทุติยภูมิเพื่อยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน
Other Titles: Efficiency of Antagonistic Rhizobacteria from Neptunia natans and Their Secondary Metabolites Against Soil-borne Plant Pathogenic Fungi
Authors: ชนากานต์ รัตนศักดิ์ชัยชาญ
ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล
Authors: ชนากานต์ รัตนศักดิ์ชัยชาญ
ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล
Keywords: เชื้อแบคทีเรียบริเวณรอบรากพืช (Rhizobacteria);ผักกระเฉด (Neptunia natans);สารระเหย (volatiles);เชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน (soil-borne pathogenic fungi);สารทุติยภมิ (secondary metabolite)
Issue Date: 2562
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 35, 1 (ม.ค. 2562), 87-99
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บริเวณรอบรากผักกระเฉดที่มีศักยภาพยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน ได้แก่ Sclerotium rolfsii, Rhizoctonia solani, Pythium sp. และ Fusarium oxysporum สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของผักสลัด เมื่อทำการทดสอบด้วยวิธี dual culture และผลการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชโดยสารระเหย (volatiles) ด้วยวิธี sealed plate พบว่า เชื้อแบคทีเรีย จำนวน 10 ไอโซเลท คือ R1016, R1029, R1033, R1036, J3002, Rr4007, Rr4053, Rr4058, Rr4082 และ Rr4084 สามารถยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคทางดินทั้ง 4 ชนิดได้ และผลของสารระเหยของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 10 ไอโซเลท ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรค พบว่า สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อราได้ทุกชนิด ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเชื้อรา S. rolfsii และ Pythium sp. สูงสุดอยู่ในช่วง 75-100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ เชื้อรา R. solani มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงสุดอยู่ในช่วง 53-57 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อรา F. oxysporum มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งได้สูงสุด 12 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ผลของสารระเหยที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียบางไอโซเลท ทำให้เส้นใยมีลักษณะผิดปกติ และส่งผลกระทบต่อปริมาณการเจริญของเส้นใยบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) พบ 5 ไอโซเลท ได้แก่ R1033, Rr4053, Rr4058, Rr4082 และ Rr4084 สามารถยับยั้งการเจริญเส้นใยของเชื้อรา S. rolfsii ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนำเส้นใยย้ายไปวางบนอาหาร PDA เชื้อไม่สามารถเจริญได้ อีกทั้งเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บางไอโซเลทสามารถสร้างสารทุติยภูมิได้ กล่าวได้ว่า สารระเหยและสารทุติยภูมิมีบทบาทสำคัญในการควบคุมโรคโดยชีววิธี การศึกษานี้เป็นแนวทางการใช้สารระเหยที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าและส่งเสริมการเจริญของพืช
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (ม.ค. พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00141_C01124.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66305
ISSN: 0857-0841
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.